วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

แผนการจัดการเรียนรู้ ครั้งที่ 18

แผนการจัดการกระบวนการเรียนรู้
รายวิชา   พท 31001   ภาษาไทย ระดับ   มัธยมศึกษาตอนปลาย
ภาคเรียนที่   1  ปีการศึกษา 2558

สัปดาห์ที่ 18       เรื่อง   การเขียน
ตัวชี้วัด   
  1. พิจารณาข้อเท็จจริงที่พบจากประกาศโฆษณา
  2. สามารถกรอกแบบฟอร์มต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง

มาตรฐานการเรียนรู้
1.       รู้และเข้าใจหลักการการเขียนประเภทต่างโดยใช้คำในการเขียนได้ตรง ความหมายและถูกต้องตามอักขระวิธีและระดับภาษา
2.       สามารถวิพากษ์วิจารณ์และประเมินค่างานเขียนของผู้อื่น เพื่อนำมาพัฒนางานเขียน
3.       สามารถแต่งคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง
4.       มีมารยาทในการเขียนและนิสัยรักการเขียน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
     1.สามารถเขียนรายงานได้
2.สามรถออกแบบฟอร์มต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง


เนื้อหา
กิจกรรมการเรียนรู้
ระยะเวลา
บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
1. การเขียนรายงาน
2.การกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ




ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1.ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับการเขียน

ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
1. ครูอธิบายให้ผู้เรียนเรื่องหลักการการเขียนรายงานและการกรอกแบบฟอร์มต่างๆ  ดังนี้
1. การเขียนรายงาน
2.การเขียนจดหมายสมัครงาน

โดยให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่มช่วยกันทำและสรุปหัวข้อใบงานที่ครูมอบหมายออกนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
1.ครูและนักศึกษาร่วมกันสรุปบทเรียนร่วมกัน
2.นักศึกษาทำแบบฝึกหัด
3.ครูตรวจและเฉลยแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทราบ
มอบหมาย กรต.
1. ให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาของนอกเหนือจาก ได้เรียนจากการมาพบกลุ่ม
2. ให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาจากการเขียนในรูปแบบของนักเขียนที่ชอบ  จาก ห้องสมุดประชาชน  จากร้านหนังสือแล้วสรุปความจากเรื่องที่อ่านไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ผู้เรียนร่วมสนทนา โต้ตอบเกี่ยวกับเรื่องหลักการ ความสำคัญ จุดมุ่งหมายของการเขียน

ขั้นกิจกรรมการเรียนรู้
1.ผู้เรียนร่วมกันศึกษาเนื้อหาหลักการเขียนจากใบความรู้ที่ครูแจกให้
2.ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์เนื้อหา การเขียน  ทำใบงาน และสรุปรวมกันโดยนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ขั้นสรุป
1.ร่วมกันสรุป
2. ผู้เรียนทำแบบทดสอบ
3.รวมกันเฉลยแบบทดสอบและแก้ไขให้ถูกต้อง





3        ชั่วโมง





































สื่อ/แหล่งเรียนรู้       ใบความรู้ที่  1  เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียน
                          ใบความรู้ที่  2  เรื่อง หลักการเขียนรายงาน
                          ใบความรู้ที่ 3  เรื่อง การเขียนจดหมายสมัครงาน


การวัดผลประเมินผล
       
                           -  บันทึกการเรียนรู้
                           -  แบบฝึกหัด
                           -  ใบงาน
            

ใบงาน เรื่องการเขียน

1.อธิบาย ความหมายของการเขียน .............................................................................................................
.................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
2.อธิบายความหมายของการสื่อสาร  คือ ......................................................................................................
...................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................
3.อธิบายลักษณะการเขียนโดยทั่วไป.........................................................................................................
...................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................



แบบทดสอบ เรื่องการเขียน

จงเติมคำลงในช่องว่างถูกต้อง
1.รายงานเชิงวิชาการ หมายถึง…………………………………………………………………………………………………........
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
2.จดหมายธุรกิจ คือ ....................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................
...................................................................................................................................................................
3.จดหมายธุรกิจการค้า คือ .................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................................
.................................................................................................................................................................................



แนวเฉลย
1.เรื่องราวที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียด และเขียนเรียบเรียงขึ้นไว้อย่างมีระบบระเบียบแบบแผนตามสากลนิยม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ทำอะไร ทำอย่างไร ทำไมจึงต้องทำ มีแนวความคิด หลักการและเหตุผลอย่างไร ทำแล้วได้ผลอย่างไร
2.จดหมายที่ใช้ติดต่อเกี่ยวกับธุรกิจการค้า หรือติดต่อเกี่ยวกับกิจธุระ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ จดหมายธุรกิจการค้า และจดหมายสังคมธุรกิจ
3.ใช้ติดต่อเกี่ยวกับเรื่องราวระหว่างเอกชนกับเอกชน เอกชนกับราชการ หรือประชาชนทั่วไป การเขียนจดหมายธุรกิจการค้าต้องใช้ภาษากระชับ ชัดเจน ผู้อ่านสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง และต้องคำนึงถึงรูปแบบและการใช้ภาษาด้วย


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเขียนรายงาน
        มนุษย์ทุกคนที่ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม ต้องมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เพื่อการพัฒนา สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้า การติดต่อของมนุษย์มีอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เกิดจนตาย ทั้งนี้มนุษย์ ได้พัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในหลายๆ รูปแบบ เช่น ภาษาพูด ภาษาใบ้ ภาษาเขียน เป็นต้น การเกิดภาษาดังกล่าวจึงจะเป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในการสื่อสารการติดต่อสื่อสารจึงเป็นเรื่องของความเข้าใจข้อความ สามารถถอดรหัสให้เป็นความเข้าใจที่ตรงกันกับผู้ที่ส่งข้อความมา การติดต่อสื่อสารของคนแต่ละกลุ่มก็จะใช้รหัสติดต่อที่แตกต่างกันออกไปจากเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้การเกิดภาษาขึ้นหลายภาในโลก
ความหมายของการสื่อสาร
             องค์ประกอบสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ คือ การสื่อสาร เพราะ มนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันหรือติดต่อทำความเข้าใจกันเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิ ผลของการดำรงชีวิต การสื่อสารเป็นกระบวนการที่มนุษย์จะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น เพื่อยังประโยชน์ต่างๆให้เกิดขึ้น ทั้งแก่ตนเอง ผู้อื่น และสังคม มีผู้กล่าวถึง “การสื่อสาร” ไว้เป็นอัน
มาก อาทิตย์
            ปรมะ  สตะเวทิน (2537:7) กล่าวว่า “การสื่อสาร คือ กระบวนการของการถ่ายทอดสาร (message) จากบุคคลฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ส่งสาร (source) ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้รับสาร (receiver) โดยผ่านสื่อ(channel)"

            สวนิต  ยมาภัย (2536:18) กล่าวว่า "การสื่อสาร หมายถึง การนำเรื่องราวต่างๆที่เป็นข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น หรือความรู้สึก โดยอาศัยเครื่องนำไปโดยวิธีใดวิธีหนึ่งให้ไปถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จนทำให้เกิดการกำหนดรู้ความหมายแห่งเรื่องราวนั้นร่วมกันได้
           วิรัช  ลภิรัตนกุล (2546 : 159) กล่าวว่ากระบวนการในการส่งผ่านหรือสื่อความหมายระหว่าง บุคคลสังคมมนุษย์เป็นสังคมที่สมาชิกสามารถใช้ความสามารถของตนสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจ
ได้โดยแสดงออกในรูปของความต้องการ ความปรารถนา ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ และประสบการณ์
ต่างๆจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่ง

         การสื่อสาร  คือ กระบวนการถ่ายโอนข้อมูลจากผู้หนึ่งไปยังอีกผู้หนึ่งที่ต้องการข้อมูลและเป็น
กระบวนการที่ขจัดสภาวะของความไม่แน่ใจของผู้อ่านไปสู่สภาวะของความแน่ใจ นับว่าการสื่อสาร
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (มนี สมรัก, 2542 :1)

         ในระบบการศึกษา  การสื่อสารเป็นกระบวนการที่สามารถทำให้เกิดการถ่ายทอดข้อมูลจากผู้สอนไปยังผู้เรียน ดังนั้น วัตถุประสงค์ของกรติดต่อสื่อสารจึงเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีความหมาย 2 ประการดังนี้
         1.เพื่อแสดงให้ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนมีความรู้
         2.เพื่อแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อนร่วมห้อง
         หลังจากจบการศึกษาแล้ว ในโลกแห่งงาน ข้อมูลต่างๆ จำเป็นที่จะต้องมีการถ่ายทอดโดยต้องอาศัยทักษะการสื่อสาร การสื่อสารที่เกิดขึ้นและได้อย่างเป็นผลดีก็ต้องขึ้นอยู่กับอาชีพและทักษะของแต่ละคนที่มีพื้นฐาน
ความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น วิศวกร นักการตลาด เกษตรกร นักเศรษฐศาสตร์ แพทย์ และพยาบาล เป็นต้น
        องค์กรต่างๆ ส่วนใหญ่จะพิจารณาความก้าวหน้าในการทำงานความสามารถที่เป็นอยู่ จากตารางที่ 1.1 เป็นการแสดงคุณค่าต่างๆ ที่บริษัทจะจัดอันดับความสามารถของลูกจ้างในการเขียนและการพูด กับผู้อื่นที่อยู่ในและภายนอกองค์การ ทักษะในการสื่อสารข้อมูลจังเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการติดต่อเพื่อทำให้การประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จ และสามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ได้
ในระบบการศึกษา  การสื่อสารเป็นกระบวนการที่สามารถทำให้เกิดการถ่ายทอดข้อมูลจากผู้สอนไปยังผู้เรียน ดังนั้น วัตถุประสงค์ของกรติดต่อสื่อสารจึงเป็นกระบวนการ
เรียนการสอนที่มีความหมาย 2 ประการดังนี้
         1.เพื่อแสดงให้ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนมีความรู้
         2.เพื่อแบ่งปันความรู้ให้กับเพื่อนร่วมห้อง
         หลังจากจบการศึกษาแล้ว ในโลกแห่งงาน ข้อมูลต่างๆ จำเป็นที่จะต้องมีการถ่ายทอดโดยต้องอาศัยทักษะการสื่อสาร การสื่อสารที่เกิดขึ้นและได้อย่างเป็นผลดีก็ต้องขึ้นอยู่กับอาชีพและทักษะของแต่ละคนที่มีพื้นฐาน
ความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น วิศวกร นักการตลาด เกษตรกร นักเศรษฐศาสตร์ แพทย์ และพยาบาล เป็นต้น
        องค์กรต่างๆ ส่วนใหญ่จะพิจารณาความก้าวหน้าในการทำงานความสามารถที่เป็นอยู่ จากตารางที่ 1.1 เป็นการแสดงคุณค่าต่างๆ ที่บริษัทจะจัดอันดับความสามารถของลูกจ้างในการเขียนและการพูด กับผู้อื่นที่อยู่ในและภายนอกองค์การ ทักษะในการสื่อสารข้อมูลจังเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการติดต่อเพื่อทำให้การ
ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จ และสามารถที่จะแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่ได้


หลักการเขียนรายงาน
         การเขียนรายงานเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่มีการนำมาใช้ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ การเขียนในสมัยโบราณส่วนมากเป็นการบันทึกเหตุการณ์เรื่องราวต่างๆ เพื่อให้ชนชั้นหลังได้รับรู้ นับเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาจากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลาน ซึ่งยังประโยชน์ในการสามารถปรับปรุงการดำรงชีวิตอย่างต่อเนื่องพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าตามลำดับ
ประวัติการเขียนรายงาน
            จากข้อมูลเขียนรายงานและการบันทึกพบว่า เมื่อ 6,000ปีที่ผ่านมามนุษย์เริ่มรู้จักการเขียนโดยมีหลักฐานค้นพบได้แก่ การค้นพบแผ่นจารึกดิน ม้วนการะดาษที่ทำมาจากต้นกกหรือหนังสัตว์ การบันทึกเรื่องราวระหว่างการเดินทางเพื่อการติดต่อค้าขาย การทำการเกษตร การขนส่ง และการเดินเรือ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลทางคณิตศาสตร์ การคำนวณทางโหราศาสตร์ ซึ่งมนุษย์มีการบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลสมัยกรีกโบราณ ที่ได้ทำให้ทราบถึงรายละเอียดทางการแพทย์ สถาปัตยกรรม หรือแม้กระทั่งอาวุธที่ใช้ในสมัยโบราณ จากเอกสารกรีก โบราณระบุว่าชาวกรีกเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในด้านการแพทย์ การก่อสร้าง สถาปัตยกรรม สัตวแพทย์รวมถึงการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์, 2532 : 17-19)
              ต่อมาในระหว่างกลางศตวรรษที่14  มีการนำการการเขียนมาใช้เพื่อการบันทึก                      ในการเดินทางทางเรือและวิธีใช้ อุปกรณ์ การคำนวณทิศทางของดวงดาว ซึ่งการเขียนศตวรรษนี้นับว่าสำคัญต่อการใช้เทคนิคการเขียนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะอย่าง อีกทั้งยังเป็นการรวบรวมข้อมูลและการถ่ายทอดให้ชนรุ่นหลังได้รับทราบ
             ในระหว่างการฟื้นฟูศิลปะวิทยาในทวีปยุโรป การสืบสวนทางวิทยาศาสตร์ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก เอกสารจำนวนมากได้ถูกเขียนเป็นรายงาน เช่น การบันทึกเรื่องราวของ ลีโอนาโด ดา วินซี่ ที่ได้เขียนเรื่องราวของกายวิภาค และนิโคลัส คอเปอร์นิคัส ได้เขียนเรื่องระบบศูนย์กลางของดวงอาทิตย์
            จากนั้นจึงมาถึงยุคการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์ การเขียนได้พัฒนาไปตามวันและเวลาจนถึงปัจจุบัน ข้อมูลที่เป็นด้านเทคนิคยิ่งเพิ่มขึ้น และข้อมูลเหล่านี้ยังได้ถูกนำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการรายงาน ซึ่งนับเป็นมรดกอันหาค่ามิได้ในปัจจุบัน

ความหมายของรายงาน
รายงานเชิงวิชาการ หมายถึง เรื่องราวที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียด และเขียนเรียบเรียงขึ้นไว้อย่างมีระบบระเบียบแบบแผนตามสากลนิยม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ทำอะไร ทำอย่างไร ทำไมจึงต้องทำ มีแนวความหมายของรายงาน รายงานเชิงวิชาการ หมายถึง เรื่องราวที่เรียบเรียงขึ้นใหม่ จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลอย่างละเอียด และเขียนเรียบเรียงขึ้นไว้อย่างมีระบบระเบียบแบบแผนตามสากลนิยม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ทำอะไร ทำอย่างไร ทำไมจึงต้องทำ มีแนวความคิด หลักการและเหตุผลอย่างไร ทำแล้วได้ผลอย่างไร (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, 2532 : 13)

ประเภทและรูปแบบการเขียน
            การเขียนใดๆ ย่อมต้องมีการกำหนดรูปแบบของการเขียน ดังนั้นรูปแบบของการเขียนจึงต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป
       1. ประเภทของการเขียน
           ประเภทของการเขียนมี 2 ประเภท ดังนี้
           1.1 การเขียนทั่วไป ได้แก่ การเขียนเป็นสารคดี และบันเทิงคดี
           1.2 การเขียนทางเทคนิค ได้แก่ การเขียนที่มีลักษณะสื่อสารที่ต้องอยู่ในของเขตทาง
วิชาการ เช่น การเขียนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเขียนทางวิศวกรรม และการเขียนทางธุรกิจ

       2. รูปแบบของการเขียน
            จากการเขียนทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวแล้ว การเขียนยังสามารถจะจำแนกรูปแบบได้
เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
            2.1 การเขียนที่เป็นแบบแผน ได้แก่ การเขียนรายงาน การเขียนเรียงความ การเขียนบทความ การทำรายงานการประชุม การเขียนจดหมายการเขียนย่อความ
            2.2 การเขียนที่ไม่เป็นแบบแผน ได้แก่ การทำบันทึกส่วนตัว การแนะนำหนังสือ การเขียนเรื่องสั้น การเขียนสารคดี การเขียนบันเทิงคดี และการเขียนโฆษณา
            เป็นเอกสารที่มีเนื้อหาครอบคลุมในหลายด้าน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของรายงานที่ต้องประมวลเพื่อนำเสนอเรื่องราวที่มีเนื้อหาต่อเนื่องตามลำดับ ปัจจุบันการเขียนรายงาน มีการพัฒนาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมหรือธุรกิจซึ่งมีการแข่งขันกันทุกขณะ ดังนั้นรายงานจึงเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ช่วยในการตัดสินใจการลงทุนการดำเนินนโยบาย หรือการดำเนินกิจการ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การเขียนรายงานจึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือการเขียนรายงานทั่วไป และการเขียนรายงานเชิงวิชาการที่ประกอบด้วยรายงานการศึกษาค้นคว้า รายงานการวิจัย โครงการเชิงวิชาการ
จดหมายสมัครงาน

         
จดหมาย คือ หนังสือที่ใช้ติดต่อสื่อสารแทนวาจา นับว่าเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย สิ่งที่ต้องคำนึงในการเขียนจดหมาย คือ ต้องใช้ภาษาในการสื่อสารให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียน
          จดหมายแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
-                   จดหมายส่วนตัว
-                   จดหมายธุรกิจ
-                   จดหมายราชการ
ในเอกสารจะขอกล่าวถึงจดหมายเพียง ๑ ประเภท คือ จดหมายธุรกิจ
จดหมายธุรกิจ
          จดหมายธุรกิจ คือ จดหมายที่ใช้ติดต่อเกี่ยวกับธุรกิจการค้า หรือติดต่อเกี่ยวกับกิจธุระ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ จดหมายธุรกิจการค้า และจดหมายสังคมธุรกิจ
๑.      จดหมายธุรกิจการค้า
                           จดหมายธุรกิจการค้า คือ ใช้ติดต่อเกี่ยวกับเรื่องราวระหว่างเอกชนกับเอกชน เอกชนกับราชการ หรือประชาชนทั่วไป การเขียนจดหมายธุรกิจการค้าต้องใช้ภาษากระชับ ชัดเจน ผู้อ่านสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง และต้องคำนึงถึงรูปแบบและการใช้ภาษาด้วย
          ประเภทของจดหมายธุรกิจการค้า
-                   จดหมายโฆษณาสินค้าและบริการ
-                   จดหมายสอบถาม
-                   จดหมายสั่งซื้อสินค้าและบริการ
-                   จดหมายร้องเรียน
๒. จดหมายสังคมธุรกิจ
                   จดหมายสังคมธุรกิจ คือ จดหมายที่ไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า ได้แก่ จดหมายสมัครงาน จดหมายแนะนำตัว จดหมายสอบถามการปฏิบัติงาน จดหมายรับรอง จดหมายแสดงความยินดี จดหมายแสดงความขอบคุณ จดหมายแสดงความเสียใจ และจดหมายเชิญ
          ในเอกสารนี้จะขอกล่าวถึงจดหมายสังคมธุรกิจเพียง ๑ ประเภท คือ จดหมายสมัครงาน


 จดหมายสมัครงาน

          - จดหมายสมัครงาน เป็นจดหมายที่เปรียบเสมือนตัวแทนของผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครงาน โดยส่งจดหมายสมัครงานไปยังห้างร้านที่เปิดรับสมัคร
          - จดหมายสมัครงาน เป็นจดหมายที่ต้องพิถีพิถันเป็นพิเศษ หากเขียนได้ดี ตัวผู้เขียนย่อมเป็นที่สนใจของผู้รับพิจารณา และมีโอกาสที่จะได้งานสูง
          - จดหมายสมัครงานประกอบด้วยจดหมายและใบประวัติย่อ

ข้อปฏิบัติในการเขียนจดหมายสมัครงาน
          * ผู้เขียนจดหมายสมัครงานต้องไม่ลอกจดหมายของผู้อื่น แต่อาจใช้เป็นตัวอย่างได้
          * ควรใช้กระดาษและซองจดหมายสีขาวมาตรฐาน
          * ใช้วิธีการพิมพ์แทนการเขียนด้วยลายมือ ความยาวไม่เกิน ๑ หน้ากระดาษ ยกเว้นกรณีที่ผู้รับสมัครกำหนดให้เขียนด้วยลายมือ ไม่ควรมีรอยลบหรือแก้ไข
          * ต้องเขียนด้วยภาษาสุภาพถูกต้องตามหลักภาษา ไม่ควรใช้อักษรย่อถ้าไม่จำเป็น
          * ไม่ควรเขียนไปในทำนองขอความช่วยเหลือ ขอความเห็นใจ โอ้อวดความสามารถจนเกินจริง
          * ไม่ควรกล่าวให้ร้ายผู้อื่นในจดหมาย และไม่เขียนเป็นชีวประวัติตนเอง
          * รูปถ่ายที่ใช้ในการสมัครงานควรเป็นรูปถ่ายปัจจุบัน
ส่วนประกอบของจดหมายสมัครงาน
          ส่วนต้น  มีรายละเอียด ดังนี้
-                   ที่อยู่ของผู้สมัคร
-                   วันที่
-                   เรื่อง ของสมัครงานในตำแหน่ง ................
-                   เรียนผู้จัดการฝ่ายบุคคลบริษัท...............
-                   สิ่งที่ส่งมาด้วย
          ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย
-                   ส่วนนำ เขียนถึงแหล่งที่มาของการรับสมัครงาน
-                   รายละเอียดส่วนตัวและการศึกษาที่ได้รับ
-                   ประสบการณ์ กรณีเคยทำงานมาแล้ว ให้กล่าวถึงตำแหน่ง หน้าที่ ระยะเวลาที่เคยปฏิบัติงาน และสาเหตุที่ต้องลาออก ถ้าเพิ่งจบการศึกษาควรแจ้งประสบการณ์ในระหว่างการศึกษา
-                   ผู้รับรอง หมายถึง ผู้ที่นายจ้างสามารถสอบถามถึงประวัติ ความรู้ความสามารถ ลักษณะนิสัย ความประพฤติ ตลอดจนรายละเอียดอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้สมัครตามที่นายจ้างต้องการ
-                   ส่วนสรุป จดหมายสมัครงาน ถือเป็นหลักการเดียวกับจดหมายธุรกิจการค้า ผู้ที่สมัครงานจะเขียนจดหมายสมัครงานไปยังบริษัท เพื่อเสนอขายความสามารถของตน ดังนั้นข้อสำคัญสุดท้ายต้องเขียนเพื่อยั่วยให้เกิดการกระทำที่ดี เช่น ให้เรียกตัวมาพบเพื่อสัมภาษณ์ หรือทดลองปฏิบัติงาน
-                   ส่วนท้าย เขียนคำลงท้ายเยื้องไปทางด้านซ้ายหรือด้านขวา ตามแบบฟอร์มที่เลือกใช้










.........................................................


1 ความคิดเห็น: