วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน วันที่ 29 กรกฎาคม 2558

บันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน วันที่ 29 กรกฎาคม 2558

ครูกศน.ตำบลนิคมพัฒนา
........................

             วันนี้เริ่มต้นทำงานด้วยบรรยากาศเย็นสบายจากสายฝนโปรยปราย จัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษากลุ่มสถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็กจังหวัดลำปาง (รายละเอียดในบันทึกหลังสอน) 
              จากนั้นจึงแวะไปกศน.ตำบลสำรวจตรวจตราความเรียบร้อย และไม่ลืมดูแปลงผักและต้นไม้ที่นักศึกษาช่วยกันปลูกไว้ ในแปลงและในยางรถยนต์ เมล็ดเริ่มงอกแล้ว เพราะฝนที่ชุ่มฉ่ำติดต่อกันหลายวัน ต้นใบเตยหน้ากศน.เริ่มเหลือง แต่คิดว่ามันคงกำลังปรับตัว หวังไว้ว่าคงไม่เฉาตายไปเสียก่อนเนอะ
ดอกพุดกำลังออกดอกสีขาวเล็กๆ รับฝนชุ่มฉ่ำ

ภาพมุมไกล 

             ช่วงบ่าย ได้เข้าปฏิบัติงานที่กศน.อำเภอเมืองลำปาง ติดตามการนำเสนอการขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนบ้านชัยมงคล (โรงทอผ้า) เพื่อจะได้ดำเนินงานต่อให้ร้านจัดทำไวนิลข้อมูลกลุ่มต่อไป

             มีเวลาก่อนเลิกงาน พยายามทำความเข้าใจในการทำรายงานประเมินผลงานครูกศน. เพื่อจะได้จัดทำรายงานให้เสร็จก่อนนำเสนอในวันที่ 3-4 กรกฎาคม 2558  นี้ สู้ๆค่ะ ^___^

            พรุ่งนี้หยุดยาวแล้ว ไปทำบุญวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษากันนะคะ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยค่ะ

นางวราจันทร์  ศรีวรรณบุตร
ครูกศน.ตำบลนิคมพัฒนา
ผู้รายงาน

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แผนการจัดการเรียนรู้รายสัปดาห์ วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น พบกลุ่มครั้งที่ 13

แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา พว21001 วิทยาศาสตร์
จำนวน 
หน่วยกิต
แบบ    พบกลุ่ม                                                                    จำนวน  6 ชั่วโมง
เรื่อง  โลก  บรรยากาศ  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
ตัวชี้วัด
1.       บอกส่วนประกอบและวิธีการแบ่งชั้นของโลก
2.       อธิบายการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกโดยกระบวนการต่างๆ
เนื้อหา 
1.โลก
     1.1โลก ส่วนประกอบและการแบ่งชั้นของโลก
     1.2 ทรัพยากรธรณีในท้องถิ่น และประเทศ
     1.3 การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 การกำหนดสภาพ ปัญหา ความต้องการในการเรียนรู้ (O : Orientation)
1.       ครูพูดคุยกับผู้เรียนถึงเรื่องบุคคลต่าง ๆที่เกี่ยวกับนักวิทยาศาสตร์ ว่าผู้เรียนนึกถึงใครบ้างและครูรูปภาพของนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ กาลิเลโอ  มาให้นักศึกษาว่ารู้จักไหมและนักวิทยาศาสตร์คนต่าง ๆ                           
ขั้นที่ 2 การแสวงหาข้อมูล และจัดการเรียนรู้(N : New ways of learning)
1.       ครูให้ผู้เรียนดูรูปภาพและอธิบายพร้อมๆกัน
2.       ครูนำใบความรู้เรื่องการกำเนิดโลกและความหมายของบรรยากาศและการแบ่งชั้นของโลกมาให้ผู้เรียนได้ศึกษา
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติและนำไปประยุกต์ใช้ (I : Implementation)
1.       ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5 คน โดยให้ผู้เรียนระดมความคิด และอภิปรายกลุ่ม เรื่องปรากฏการณ์ฝนตก
2.       ครูนำใบความรู้เรื่องการกำเนิดโลกและความหมายของบรรยากาศและการแบ่งชั้นของโลกมาให้ผู้เรียนได้ศึกษา
3.       ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนช่วยกันคิดและสรุปตามใบงานเรื่องสาเหตุใดจึงเกิดปรากฏการณ์ฝนตก
4.     ครูและผู้เรียนช่วยกันสรุปความหมายของการกำเนิดโลกและความหมายของบรรยากาศและการแบ่งชั้นของโลก ลงสมุดบันทึก           


ขั้นที่  การประเมินผลการเรียนรู้ (E : Evaluation)
1.       ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียนช่วยกันคิดและสรุปตามใบงานเรื่องสาเหตุใดจึงเกิดปรากฏ
การฝนตก
2.       ครูและผู้เรียนช่วยกันสรุปความหมายของการกำเนิดโลกและความหมายของบรรยากาศและการแบ่งชั้นของโลก ลงสมุดบันทึก   
ขั้นสรุปและประเมินผล
1.       ครูสรุปเนื้อหาร่วมกับผู้เรียน
2.       ให้ผู้เรียนประยุกต์ให้ความรู้โดยการทำโครงงานเกี่ยวกับการกำเนิดของโลก
3.       ผู้เรียนทำแบบทดสอบย่อยและประเมินผล
สื่อการเรียนรู้
1.       รูปภาพ
2.       ใบงาน
3.       หนังสือหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
4.       แบบทดสอบย่อย
การวัดผลและประเมินผล
1.       แบบทดสอบ
2.       แบบประเมินกลุ่ม




ใบความรู้
โลก
โลก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สาม โดยโลกเป็นดาวเคราะห์หินขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ยืนยันได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ดาวเคราะห์โลกถือกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,570 ล้าน (4.57×109) ปีก่อน และหลังจากนั้นไม่นานนัก ดวงจันทร์ซึ่งเป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลกก็ถือกำเนิดตามมา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่ครองโลกในปัจจุบันนี้คือมนุษย์
โลก มีลักษณะเป็นทรงวงรี โดย ในแนวดิ่งเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 12,711 กม. ในแนวนอน ยาว 12,755 กม. ต่างกัน 44 กม. มีพื้นน้ำ 3 ส่วน หรือ 71% และมีพื้นดิน 1 ส่วน หรือ 29 % แกนโลกจะเอียง 23.5 องศาสัญลักษณ์ของโลกประกอบด้วยกากบาทที่ล้อมด้วยวงกลม โดยเส้นตั้งและเส้นนอนของกากบาทจะแทนเส้นเมอริเดียนและเส้นศูนย์สูตรตามลำดับ สัญลักษณ์อีกแบบของโลกจะวางกากบาทไว้เหนือวงกลมแทน (ยูนิโคด: หรือ )
ประวัติ
โลกเกิดจากการรวมตัวของอานุภาคและสิ่งแรที่เกิดครั้งแรกคือภูเขาไฟเมื่อภูเขาไฟเย็นตัวลงจะก่อเกิดสิ่งมีชีวิตอื่นๆกำเนิดตาม
โครงสร้างและองค์ประกอบ
รูปร่าง
โลกมีรูปทรงกระบอกแบนขั้ว หมายความว่ามีรูปทรงกระบอกแต่บริเวณขั้วโลกทั้งสองแบนเล็กน้อย และโป่งออกทางเส้นศูนย์สูตร ความยาวรอบโลกประมาณ 40,000 กิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 12,700 กิโลเมตร จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกคือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ซึ่งมีความสูง 8,848 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนจุดที่ลึกที่สุดในโลกคือ ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา ซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากโลกมีลักษณะโป่งออกทางตอนกลางคือเส้นศูนย์สูตร ทำให้จุดที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางโลกคือยอดเขาชิมโบราโซ ในประเทศเอกวาดอร์[1]

โครงสร้างเปลือกโลก
เปลือกโลก (crust) เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆ เสมือนเปลือกไข่ไก่หรือเปลือกหัวหอม เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือเปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
ชั้นที่หนึ่ง: ชั้นหินไซอัล (sial) เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน ชั้นหินไซอัลนี้มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้
ชั้นที่สอง: ชั้นหินไซมา (sima) เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล

แมนเทิล
แมนเทิล (mantle หรือ Earth's mantle) คือชั้นที่อยู่ถัดจากเปลือกโลกลงไป มีความหนาประมาณ 3,000 กิโลเมตร บางส่วนของหินอยู่ในสถานะหลอมเหลวเรียกว่าหินหนืด (Magma) ทำให้ชั้นแมนเทิลนี้มีความร้อนสูงมาก เนื่องจากหินหนืดมีอุณหภูมิประมาณ 800 - 4300°C ซึ่งประกอบด้วยหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ เช่นหินอัลตราเบสิก หินเพริโดไลต์ แก่นโลก
ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม. ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปว่า ต้องมีวัตถุอื่นๆ ที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่ ซึ่งทำให้แก่นโลก (core) มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%, รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ เช่นตะกั่วและยูเรเนียม มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานรวมเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้ และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก แก่นโลกแบ่งได้ออกเป็น 2 ชั้นได้แก่
แก่นโลกชั้นนอก (outer core) มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900 - 5,000 กิโลเมตร ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย และมีความร้อนสูง มีอุณหภูมิประมาณ 6200 - 6400 มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0 และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว
แก่นโลกชั้นใน (inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร มีอุณหภูมิประมาณ 4,300 - 6,200 และมีความกดดันมหาศาล ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0
สภาพบรรยากาศ
สภาพอากาศของโลก คือ การถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่
โทรโพสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 0-10 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยากาศมีไอน้ำ เมฆ หมอกซึ่งมีความหนาแน่นมาก และมีการแปรปรวนของอากาศอยู่ตลอดเวลา
สตราโตสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 10-35 กิโลเมตรจากผิวโลก บรรยากาศชั้นนี้แถบจะไม่เปลี่ยนแปลงจากโทรโพสเฟียร์ยกเว้นมีผงฟุ่นเพิ่มมาเล็กน้อย
เมโสสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่35-80 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีก๊าซโอโซนอยู่มากซึ่งจะช่วยสกัดแสงอัลตร้า ไวโอเรต (UV) จาก ดวงอาทิตย์ไม่ให้มาถึงพื้นโลกมากเกินไป
ไอโอโนสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 80-600 กิโลเมตร จากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจน จางมากไม่เหมาะกับมนุษย์
เอกโซสเฟียร์ เริ่มตั้งแต่ 600กิโลเมตรขึ้นไปจากผิวโลก บรรยากาศมีออกซิเจนจางมากๆ และมีก๊าซฮีเลียมและไฮโดรเจนอยู่เป็นส่วนมาก โดยมีชั้นติดต่อกับอวกาศ
โลกมีอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส โดยเฉลี่ย
วงโคจรและการหมุนรอบตัวเอง
โลกหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน แต่นักวิทยาศาสตร์คำนวณได้ 23.56 ชั่วโมง แต่จะใช้ 24 ชั่งโมงเป็นหลัก และ 365 วันในหนึ่งปี โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 150 ล้านไมล์ และเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อวินาที หรือ 108,000 ไมล์ต่อชั่วโมง
วงโคจรของดวงจันทร์ อยู่ห่างจากโลก 250,000 ไมล์ ดวงจันทร์จะหันพื้นผิวด้านเดียวเข้าหาโลกอยู่เสมอ และโคจรรอบโลกใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน
โลกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ และมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ร่วมกับวัตถุขนาดเล็กกว่าพันชิ้น และดาวเคราะห์อีก 8 ดวง ดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเคลื่อนที่ผ่านส่วนแขนออริออน ดาราจักรทางช้างเผือก และจะเคลื่อนที่ครบรอบในอีก 10,000 ปีข้างหน้า
 ดาวบริวาร
การอยู่อาศัย
เป็นถิ่นที่อยู่เดียวในเอกภพที่ค้นพบสิ่งมีชีวิต กลุ่มประชากรที่มีมากที่สุด คือ แบคทีเรีย กลุ่มประชากรที่มีผลมากที่สุดถ้าหายไปจากโลก คือ พืช และกลุ่มประชากรที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมคือ ไพรเมต โดยกลุ่มนี้มีเพียงสายพันธุ์เดียวผลต่อโลกทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และการทำลาย สภาพแวดล้อม คือ มนุษย์
บรรยากาศ
บรรยากาศ คือ อะไร
อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา และที่หุ้มห่อโลกจากตั้งแต่พื้นดินขึ้นไป จนถึงระดับที่สูงสุดในท้องฟ้าเรเรียกว่า บรรยากาศ อากาศ หรือบรรยากาศ เป็นส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ รวมทั้งไอน้ำ ซึ่งระเหยมาจากพื้นน้ำในแหล่งต่างๆและได้จากการคายน้ำของพืชด้วย อากาศที่ไม่มีไอน้ำอยู่ด้วยเราเรียกว่า อากาศแห้ง ส่วนอากาศที่มีไอน้ำปนอยู่ด้วยเราเรียกว่า อากาศชื้น ไอน้ำในบรรยากาศมีอยู่ระหว่างร้อยละ 0–4 ของอากาศทั้งหมด แต่ไอน้ำเป็นส่วนผสมสำคัญยิ่งของอากาศ เพราะไอน้ำเป็นสาเหตุของการเกิดฝน ลม พายุ ฟ้าแลบและฟ้าร้อง อากาศแห้งมีส่วนผสมของอากาศโดยประมาณ ดังนี้
ส่วนประกอบของบรรยากาศ
อากาศแห้ง ประกอบด้วยแก๊สต่างๆ ดังนี้
** ไนโตรเจน 78
** ออกซิเจน 21 %
** อาร์กอน 0.93 %
** ก๊าซ อื่น ๆ 0.07 %
ตามปกติในธรรมชาติจะไม่มีอากาศแห้งแท้ ๆ อากาศทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นอากาศชื้น คือ มีไอน้ำอยู่ด้วยตั้งแต่ร้อยละ 0–4 ซึ่งหมายความว่า ถ้าอากาศชื้นมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะมีไอน้ำอยู่อย่างมากได้เพียง 40 กรัม เมื่ออากาศมีไอน้ำปนอยู่ด้วยจำนวนส่วนผสมของก๊าซอื่นก็จะเปลี่ยนแปลงไปบางเล็กน้อย
ไอน้ำ เกิดขึ้นได้จากการระเหยของน้ำจากทะเล มหาสมุทร แหล่งน้ำต่างๆ ที่ได้รับ
พลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ และการคายน้ำของพืช ไอน้ำในอากาศจะมากหรือน้อย
ขึ้นกับอุณหภูมิ ถ้าอุณหภูมิสูงปริมานไอน้ำในอากาศก็จะมากกว่าที่อุณหภูมิต่ำ
ฝุ่นละออง เป็นของแข็งที่มีขนาดเล็กมากลอยปะปนในอากาศ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
1. ฝุ่นละอองจากธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า
2. ฝุ่นละอองจากกิจกรรมมนุษย์ เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง โรงงานอุตสาหกรรม
ฝุ่นละอองทำหน้าที่เป็นตัวยึดเกาะของหยดน้ำในอากาศ ทำให้หยดน้ำสามารถลอยอยู่และรวมตัวกันเป็นเมฆได้ แต่ถ้ามีฝุ่นมากจะทำให้ทัศน์วิสัยในการมองเห็นลดลง เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ ดังต่อไปนี้
แบ่งโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้น
แบ่งโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้น
แบ่งทางอุตุนิยมวิทยา แบ่งได้ 5 ชั้น
ก๊าซที่เกี่ยวกับชั้นบรรยากาศที่สำคัญมีอยู่ 2 ก๊าซ คือ
โอโซน(ozone)เป็นก๊าซที่สำคัญมากต่อมนุษย์ เพราะช่วยดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเลตที่มาจากดวงอาทิตย์ ไม่ให้ตกสู่พื้นโลกมากเกินไป
ถ้าไม่มีโอโซนก็จะทำให้รังสีอุลตราไวโอเลตเข้ามาสู่พื้นโลกมากเกินไป ทำให้ผิวหนังไหม้เกรียม แต่ถ้าโอโซนมีมากเกินไปก็จะทำให้รังสีอุลตราไวโอเลต
มาสู่พื้นโลกน้อยเกินไปทำให้มนุษย์ขาดวิตามิน D ได้ โดยโอโซนนี้เป็นก๊าซที่ประกอบด้วย ออกซิเจน 3 อะตอมรวมกัน
ซีเอฟซี (CFC=Chlorofluorocarbon)เป็นก๊าซที่ประกอบด้วย คาร์บอน ฟลูออรีน คลอรีน ซึ่งได้นำมาใช้ในอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น ผลิตพลาสติก โฟม ฯ โดยก๊าซCFCนี้มีนำหนักเบามาก ดังนั้น เมื่อปล่อยสู่บรรยากาศมากขึ้นจนกระทั่งถึงชั้นสตราโตสเฟียร์ CFCจะกระทบกับรังสีอุลตราไวโอเลตแล้วแตกตัวออกทันทีเกิดอะตอมของคลอรีนอิสระที่จะเข้าทำปฏิกริยากับโอโซน ได้สารประกอบมอนอกไซด์ของคลอรีน และก๊าซออกซิเจน จากนั้น สารประกอบมอนอกไซด์จะรวมตัวกับอะตอนออกซิเจนอิสระ เพื่อที่จะสร้างออกซิเจนและอะตอมของคลอรีน ปฏิกริยานี้จะเป็นลูกโซ่ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด โดยคลอรียอิสระ 1 อะตอมจะทำลายโอโซนไปจากชั้นบรรยากาศได้ถึง 100,000โมเลกุล

การจำแนกบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 ชั้นดังนี้
1. โทรโพรสเฟียร์ อยู่ระหว่าง 0-10 กม. โดยอุณหภูมิจะค่อยๆลดลงตามความสูง โดยเฉลี่ย กม.ละ 6.5 องศา c เป็นชั้นที่สำคัญมากเพราะเป็นบริเวณที่มีไอนำ เมฆ หมอก และพายุ
2. สตราโตสเฟียร์ อยู่ระหว่างความสูง 10-50 กม. เป็นชั้นที่ไม่มีเมฆ มักใช้ในการเดินทางทางอากาศ โดยอุณหภูมิจะคงที่ จนถึงความสูง 50 กม. และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอัตรา 0.5 องศาc ต่อ 1 กม.
3. มีโซสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศระหว่าง 50-80 กม. โดยอุณหภูมิจะลดลงตามความสูง
4. เทอร์โมสเฟียร์ ตั้งแต่ 80-500กม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงแรกแล้วอัตราการสูงขึ้นจะลดลงอุณหภูมิจะอยู่ระหว่าง 227-1727 องศา c โดยชั้นนี้จะมีความหนาแน่นของอนุภาคต่างๆจางมาก แต่ก๊าซต่างๆ ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่เป็นประจุไฟฟ้าเรียกว่า อิออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ บรรยากาศในชั้นนี้ถือเป็นบริเวณที่เปลี่ยนจากบรรยากาศของโลกมาเป็นก๊าซระหว่างดาวที่เบาบาง และเป็นชั้นนอกสุดของบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก เรียกว่า เอกโซสเฟียร์ โฮโมสเฟียร์ คือ ชื่อเรียกบรรยากาศชั้น โทรโพรสเฟียร์ สตราโตสเฟียร์และมีโซสเฟียร์รวมกัน
แบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 4 แบบ คือ
1. โทรโพสเฟียร์ เป็นบรรยากาศที่อยู่ติดกับพื้นโลก สูง 0-10 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ ไอน้ำ
2. โอโซโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง10-50 กม. มีก๊าซที่สำคัญคือ โอโซน
3. ไอโอโนสเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศสูง 80-600 กม. มีสิ่งที่สำคัญคือ อิออน
4. เอกโซเฟียร์ เป็นชั้นบรรยากาศซึ่งสูงตั้งแต่ 600 กม. ขึ้นไป โดยความหนาแน่นของอะตอมต่างๆมีค่าน้อยลง
การแบ่งชั้นบรรยากาศทางอุตุนิยมวิทยา แบ่งได้ 5 ชั้น ดังนี้
1. บริเวณที่มีอิทธิพลความฝืด ระหว่าง 0-2 กม.
2. โทรโพสเฟียร์ชั้นกลางและบน อุณหภูมิจะลดลงสม่ำเสมอ ตามความสูง
3. โทรโพพอส เป็นเขตแบ่งว่า มีไอน้ำกับไม่มีไอน้ำ
4. สตราโตสเฟียร์ มีโอโซนมาก
5. บรรยากาศชั้นสูง คล้ายกับเอกโซสเฟียร์

          ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้นเอง และมีผลกระทบกับมนุษย์ ตัวอย่างเช่นเหตุการณ์ที่พบเห็นทั่วไป ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุ และเหตุการณ์ที่ไม่พบบ่อยนัก เช่น โลกร้อน สุริยุปราคา ฝนดาวตก
ปรากฏการณ์ คืออะไร
          ปรากฏการณ์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นและสังเกตได้
ธรรมชาติ คืออะไร
          คำว่า ธรรมชาติ ใช้สำหรับบรรยายทุกสิ่งบน โลก ที่ไม่ได้ถูกสร้างโดยมนุษย์ อาทิเช่น มนุษย์ สัตว์ ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ หรือฝน เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
          ธรรมชาติในอีกความหมายหนึ่งคือ สิ่งที่มนุษย์กระทำขึ้นโดยไม่รู้ตัวแล้วมนุษย์อีกคนหนึ่งแอบมองโดยไม่ได้ตั่งใจหรือตั่งใจ เช่น ธรรมชาติของคนที่โกรธจัดจะเป็นอีกแบบกับคนที่อารมณ์ดีซึ่งคนที่อารมณ์ดีจะหน้าดูกว่าคนที่อารมโกรธหรืออารมณ์ไม่ดี การเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติ

          ในหลายๆ ด้านแล้ว กล่าวได้ว่าธรรมชาติและมนุษย์มีหลายอย่างที่ขัดแย้งกัน บางคนมองธรรมชาติว่าเป็นเพียงทรัพยากรธรรมชาติที่เอามาเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เท่านั้น มนุษย์ตัดต้นไม้เพื่อนำไม้ไปเป็นเชื้อเพลิงหรือนำไปสร้างบ้าน หรือเพื่อนำที่ดินไปทำสวน ปลูกผัก หรือสร้างรถ และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งปล่อยควันเสีย โดยเฉพาะในเมือง หรือการที่มนุษย์จับปลาอย่างมากมายโดยฆ่าทั้งปลาและทำอันตรายต่อสัตว์อื่นๆ ใต้น้ำ
          ในขณะที่บางคนเลือกที่จะไม่ทำร้ายธรรมชาติ เพราะพวกเขารู้สึกว่าธรรมชาติมีความจำเป็นต่อพวกเขา พวกเขาจึงพยายามทำสิ่งที่ไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติ โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ที่มีผู้คนมากมาย ปัญหาธรรมชาติจึงเป็นปัญหาที่ร้ายแรง และกลายเป็นเรื่องการเมืองไปเสียแล้ว
มีบางคนคิดว่าอนาคตนี้มนุษย์จะไม่ต้องการธรรมชาติ และฉลาดพอที่จะสร้างสิ่งต่างๆ ทดแทนธรรมชาติได้ แต่อันที่จริงแล้ว มนุษย์เองก็เกิดจากธรรมชาติและธรรมชาติก็สร้างมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีสมองอันชาญฉลาด มีความสามารถที่จะปกป้องธรรมชาติจากอันตราย และช่วยเหลือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้ หากธรรมชาติเสื่อมโทรมลงไป มนุษย์อาจจะต้องอยู่อย่างลำบากมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราควรจะดูแลรักษาธรรมชาติ ธรรมชาติสามารถแสดงให้มนุษย์เห็นว่าจะทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างไร และมนุษย์ศึกษาธรรมชาติ เพื่อที่จะเข้าใจและแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

ผลกระทบจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ
          ปรากฏการณ์ธรรมชาติ คือ การเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ทั้งในระยะยาวและระยะสั้น สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ทั้งเป็นระบบและไม่เป็นระบบ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มันส่งผลกระทบต่อเรา ในธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงบางอย่าง มีผลกระทบต่อเรารุนแรงมาก ยกตัวอย่างเรื่องสึนามิ การเกิดแผ่นดินไหวนั้นพยากรณ์ยากมาก เราจัดการสึนามิ โดยเอาระเบิดปรมาณูไปถล่มมันก็ไม่ได้ แต่ของพวกนี้ถ้ารู้ก่อนสิบนาที มีประโยชน์เยอะเลย รู้ก่อนสองชั่วโมง รักษาชีวิตคนได้เป็นหมื่น ดินฟ้าอากาศก็เช่นเดียวกัน
การป้องกันผลจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ
          ถ้าหากเราเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลง จนทราบได้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงเกิดขึ้น ก็จะสามารถป้องกันและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที อย่างเช่นการวัดรังสีอัลตราไวโอเล็ตที่ขั้วโลกใต้ วัดอยู่ไม่กี่ปีก็พบว่า มีรูรั่วของชั้นโอโซน ที่ขั้วโลกใต้ สร้างให้เกิดความตื่นตัวในการลดการใช้สาร CFC มาจนถึงทุกวันนี้ แต่ถ้าไม่มีใครสังเกตเห็น ก็จะเกิดผลร้ายที่รุนแรงมากขึ้น
แบบทดสอบ
คำชี้แจง  :  ให้นักศึกษาใช้เครื่องหมาย   X   ทับข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว
1.  ข้อใดคือ ความหมายของ บรรยากาศ
    ก.  บริเวณที่ไม่มีอากาศ                            ข.  อากาศที่ปกคลุมบริเวณกว้างใหญ่และสูง
    ค.  บริเวณที่มีความกดอากาศสูงอุณหภูมิสูง       ง.  อากาศที่บริสุทธิ์อยู่ในเนื้อที่จำกัด
2.  ข้อใดจะมีความดันของบรรยากาศมากที่สุด
     ก.  ก้นเหว            ข.  ยอดภูเขา              ค.  กลางทุ่งนา             ง.  ระดับน้ำทะเล
3.  ข้อใดคือเครื่องมือวัดความดันอากาศ
    ก.  บารอมิเตอร์       ข.  เทอร์โมมิเตอร์         ค.  โวลต์มิเตอร์            ง.  แอมมิเตอร์
4.  ชั้นบรรยากาศที่อยู่ต่ำสุด คือชั้นข้อใด
    ก.  สตราโตสเฟียร์     ข.  ไอโอโพสเฟียร์         ค.  โทรโพสเฟียร์ ง.  เอกโซสเฟียร์
5.  อากาศ   มีคุณสมบัติ ตามข้อใด
    ก  .แข็ง                ข.  เหลว                   ค.  มีน้ำหนัก               ง.  อ่อน
6.  สาเหตุที่ทำให้เกิดลมบกลมทะเล คืออะไร
    ก.  ความจุความร้อนและการคลายความร้อนระหว่าง พื้นดินและพื้นน้ำ
    ข.  ความกดอากาศบนพื้นดินและพื้นน้ำเท่ากัน
    ค.  ความชื้นระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำ
    ง.  ความสูงต่ำระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำ
7.  พายุ มักจะเกิดบริเวณข้อใด
    ก.  ความกดอากาศสูง                    ข.  ความกดอากาศต่ำ
    ค.  ความชื้นของอากาศสูง                ง.  ความชื่นของอากาศต่ำ
8.  พายุอะไรที่ดูดเอาน้ำจากทะเลขึ้นสูงเป็นลักษณะงวงช้างได้
    ก.  ไต้ฝุ่น               ข.  สลาตัน                          ค.  ทอร์นาโด    ง.  ดีเปรสชั่น
9.  เครื่องมือที่ใช้วัดความเร็วของลม ชื่อว่าอะไร
    ก.  บารอมิเตอร์       ข.  เทอร์โมมิเตอร์      ค.  ไซโครมิเตอร์     ง.  แอนนิโมมิเตอร์
10.  กิจการข้อใดที่เกี่ยวกับการตรวจสอบบรรยากาศมากที่สุด
    ก.  ชลประทาน        ข.  อุทกศาสตร์            ค.  อุตุนิยมวิทยา          ง.  พัฒนาการ
11.  เวลาฝนตก อากาศชื้นมาก เพราะเหตุข้อใด
    ก.  ความเย็นของพื้นดิน                  ข.  ความร้อนของพื้นดิน
    ค.  ความกดอากาศสูง                    ง.  ความกดอากาศต่ำ
12.  อะไรที่ไม่ได้เกิดจากไอน้ำ
    ก.  เมฆ                ข.  หมอก                  ค.  ลูกเห็บ                 ง.  สูญญากาศ
13.  อุณหภูมิ ที่ไอน้ำในอากาศเริ่มกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ เรียกว่าอะไร
    ก.  จุดคงที่             ข.  จุดน้ำค้าง              ค.  จุดหลอมเหลว         ง.  จุดควบแน่น
14.  อากาศแห้งหมายถึงอากาศที่มีลักษณะอย่างไร
    ก.  ร้อนจัด             ข.  หนาวเย็น              ค.  มีฝุ่นมาก               ง.  มีน้ำน้อย
15.  ค่าความชื้นสัมพัทธ์สูง เราจะรู้สึกอย่างไร
    ก.  อึดอัด              ข.  คอแห้ง                 ค.  เย็นสบาย              ง.  เหงื่อระเหยช้า
16.  หินทีเกิดจากแมกมาภูเขาไฟ คือหินอะไร
    ก.  หินชั้น              ข.  หินอัคนี                ค.  หินแปร                ง.  หินดินดาน
17.  สิ่งที่หลอมเหลวจากภูเขาไฟเรียกว่าอะไร
    ก.  ลาวา               ข.  แมกมา                 ค.  แกรนิต                 ง.  ของเหลว
18.  หินอะไรที่เกิดจากการสึกกร่อนของหินอัคนี ไปทับถมกันเป็นชั้น
    ก.  หินชั้น              ข.  หินแปร                ค.  หินตะกอน             ง.  หินแกรนิต
19.  หินชนิดข้อใดที่มีความแข็งมากที่สุด
    ก.  หินชั้น              ข.  หินอัคนี                ค.  หินแปร                ง.  หินดินดาน
20.  หินชนิดข้อใดได้ชื่อว่าเป็นหินดั้งเดิมของโลก
    ก.  หินชั้น              ข.  หินอัคนี                ค.  หินแปร                ง.  หินดินดาน


เฉลย
1.               2.               3.               4.               5.
6.               7.               8.               9.                10.
11.              12.ง              13.              14.              15.
16.              17.              18.              19.ข              20.