วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ผลการจัดการเรียนสอน ครั้งที่ 12 วันที่ 22 กรกฎาคม 2558

บันทึกหลังการจัดการเรียนการสอน ครั้งที่ 12
วันที่ 22 กรกฎาคม 2558 ณ สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็กจังหวัดลำปาง

.................................................................................................
1. พบกลุ่มนักศึกษา
       ระดับประถมศึกษา                 จำนวน......6......คน มาเรียน......6.....คน  ขาดเรียน.......-.....คน
       ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น        จำนวน.....7......คน มาเรียน.......7....คน  ขาดเรียน........-.....คน
       ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย    จำนวน.....1......คน มาเรียน.......1....คน  ขาดเรียน........-....คน
                  รวมทั้งสิ้น                จำนวน.....14....คน มาเรียน.... 14....คน  ขาดเรียน.....-....คน

2. ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (บรูณาการ 2 ระดับ แต่แยกใบงานเนื่องจากมีความยากง่ายต่างกัน)
        ระดับ ประถมศึกษา                วิชาที่สอน  วิทยาศาสตร์     เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
        ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น     วิชาที่สอน  วิทยาศาสตร์      เรื่อง สาร
        ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
               ครูสอบถามผุ้เรียนว่ารู้จักสารที่อยู่รอบตัวเราหรือไม่ สารที่ผู้เรียนเข้าใจเป็นอย่างไร และถามต่อว่า ผู้เรียนทราบหรือไม่ว่าสารที่รู้จักกันนั้น มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร โดยครูมีตัวอย่างสารที่อยู่รอบตัวเรา มาเป็นสื่อ เช่น ยาสีฟัน สบู่ น้ำตาล เกลือ น้ำส้มสายชู เป็นต้น
                       
        เทคนิค/วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                ONIE MODEL
                 ขั้นที่ 1  การกำหนดสภาพปัญหา  ความต้องการในการเรียนรู้
                 1.  ครูสร้างความคุ้นเคยทำความเข้าใจกับวิชาพร้อมมาตรฐานและชี้แจงตัวชี้วัดของหน่วยการเรียนรู้
                 2.  ครูกล่าวนำกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
                 3.  ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายความหมายของสารและให้ยกตัวอย่างสารที่เกี่ยวข้องกับในชีวิตประจำวัน
                 4.  ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัยก่อนนำเข้าสู่บทเรียน



                ขั้นที่  การแสวงหาข้อมูล  และการจัดการเรียนรู้
                1.  ครูและผู้เรียนวางแผนวิธีการเรียนรู้เนื้อหาที่กำหนด
              2.  ครูอธิบายและยกตัวอย่างของสารแต่ละประเภทในชีวิตประจำวัน
                3.  ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียน 3 คน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาสารในแต่ละประเภทจากใบความรู้ เรื่อง สาร
                4.  ผู้เรียนแต่ละกลุ่มออกมาอภิปรายสารในแต่ละประเภทตามที่กลุ่มตนเองได้รับมอบหมาย
                5.  ผู้เรียนทำใบงานเรื่อง สาร

                ขั้นที่  การปฎิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้
             1.  ครูและผู้เรียนสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน และบอกสิ่งที่ได้เรียนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักศึกษาอย่างไร 
             2. นักศึกษานำเสนอแนวทางการใช้สารอย่างปลอดภัย ทำได้อย่างไรบ้าง
             3. ผู้เรียนสรุปสาระสำคัญของเรื่อง สาร โดยสรุปเป็นแผนผังความคิด (Mind Mapping)









ขั้นที่  การประเมินผล
              1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินใบงานของแต่ละกลุ่มโดยการเขียนชื่อตนเองไว้ในใบงาน
              2. ครูสังเกตจากการมีส่วนร่วมของผู้เรียน

              กรต. ครูให้ผู้เรียนหาข้อมูลเพิ่มเติม ในหัวข้อประโยชน์ โทษ และการใช้สารและผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัย  

        สื่อ/แหล่งเรียนรู้
                หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น
                อินเตอร์เน็ต
             
        วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 
              ผลงานของผู้เรียน การสรุปเนื้อหา และการทำแผนผังความคิดว่าครอบคลุมเนื้อหามากน้อยเพียงใด
              การสังเกตผู้เรียน

        ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
                ผู้เรียนมีความตั้งใจในการค้นคว้า และสรุปแผนผังความคิด เป็นการใช้จินตนาการเข้ามาร่วม ครูแนะนำให้ใช้สีมาช่วยในการแยกมโนทัศน์รอง
                จากการตรวจผลงานของผู้เรียน พบว่า ส่วนใหญ่มีความเข้าใจเรื่องสารดี มีการแบ่งกลุ่มของสารได้ ยกตัวอย่างสารที่มีความแตกต่างกัน เช่น สารที่เป็นกรด สารที่เป็นเบส และการทดสอบสารบางชนิดได้ มีการตั้งคำถามกับครู เช่น ขัณฑสกร เป็นอย่างไรคะ (เพราะชื่อแปลก เขียนยาก) ซึ่งครูไม่มีตัวอย่างของจริงให้ดู แต่มีภาพจากอินเตอร์เน็ต เด็กๆสามารถดูภาพ แล้วครูอธิบายเพิ่มว่า เป็นผลดีหรือผลเสียอย่างไร เด็กๆสามารถคิดต่อได้ว่าควรเลือกใช้หรือไม่ มีเพียงบางคนที่ช้า จดไม่ทัน ไม่มีสมาธิ

        ปัญหาที่พบจากการจัดการเรียนการสอน
              1. เด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ ระดับประถมศึกษา 2 คน ไม่ทันเพื่อนๆ 
              2. ครูไม่ได้เตรียมสื่อบางชนิด เช่น ขัณฑสกร ทำให้เด็กนึกภาพตามไม่ออกว่ามีลักษณะอย่างไร 
                  
        ครูได้แก้ไขเบื้องต้นอย่างไร  ผลเป็นอย่างไร
              1. ครูใช้แผนผังความคิดเข้ามาช่วย และแยกมาอธิบายเพิ่มเติมอย่างใกล้ชิด และให้เด็กวาดภาพสารในแต่ละประเภท และจำเป็นภาพ
              2. ครูใช้อินเตอร์เน็ตช่วยในการหาภาพและให้เด็กๆดูจากภาพ และอธิบายเพิ่มเติมว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร แทน

        ข้อเสนอแนะ/ ข้อคิดเห็นของครูต่อการจัดการเรียนการสอนของครู
              การสอนเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ ต้องใช้ความอดทน และความเข้าใจในตัวเด็กมาก ต้องค้นหาสิ่งที่เด็กขาด และเข้าไปช่วยเติมเนื้อหาส่วนนั้น หากใช้ข้อมูลทางวิชาการมากเกินไป ก็เกิดความเครียด จึงใช้วิธีการบูรณาการหลากหลาย เช่น เพื่อนช่วยเพื่อน แม้จะอยู่คนละระดับ การใช้สี ภาพวาด หรือให้ลงมือปฏิบัติ จะช่วยเสริมพัฒนาการได้ดียิ่งขึ้น


ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย     วิชาที่สอน  วิทยาศาสตร์      เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
        ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
               ครูสอบถามผุ้เรียนว่าในชีวิตประจำวัน นักศึกษาได้สัมผัส อุปโภคหรือบริโภคสารอะไรบ้าง และถามต่อว่า ผู้เรียนทราบหรือไม่ว่าสารที่รู้จักกันนั้น มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
                       
        เทคนิค/วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
                ONIE MODEL
                 ขั้นที่ 1  การกำหนดสภาพปัญหา  ความต้องการในการเรียนรู้
                 1.  ครูสร้างความคุ้นเคยทำความเข้าใจกับวิชาพร้อมมาตรฐานและชี้แจงตัวชี้วัดของหน่วยการเรียนรู้
                 2.  ครูกล่าวนำกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
                 3.  ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายความหมายของสารและให้ยกตัวอย่างสารที่เกี่ยวข้องกับในชีวิตประจำวัน
                 4.  ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัยก่อนนำเข้าสู่บทเรียน

                ขั้นที่  การแสวงหาข้อมูล  และการจัดการเรียนรู้
                1.  ครูแนะนำการชม ETV ให้ตั้งใจและมีการจดบันทึกตลอดการชม
              2.  คให้นักศึกษาชมสื่อ ETV จนจบรายการ บันทึกสิ่งที่สังเกตได้จากผู้เรียน 
                3.  ครูให้ศึกษาสารในแต่ละประเภทจากใบความรู้ เรื่อง สาร  เพิ่มเติมและสรุปลงในสมุดบันทึกการเรียนรู้

                 ทำสรุปความรู้ที่ได้รับและนำเสนอให้เพื่อฟังหน้าห้อง


                  ขั้นที่  การปฎิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้
             1.  ครูและผู้เรียนสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน และบอกสิ่งที่ได้เรียนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักศึกษาอย่างไร 
             2. นักศึกษานำเสนอแนวทางการใช้สารอย่างปลอดภัย ทำได้อย่างไรบ้าง
             3. ผู้เรียนสรุปสาระสำคัญของเรื่อง สาร โดยสรุปเป็นแผนผังความคิด (Mind Mapping)

                 ขั้นที่  การประเมินผล
              1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินใบงานของแต่ละกลุ่มโดยการเขียนชื่อตนเองไว้ในใบงาน
              2. ทำแบบทดสอบ 5 ข้อ
              3. ครูสังเกตจากการมีส่วนร่วมของผู้เรียน

              กรต. ครูให้ผู้เรียนหาข้อมูลเพิ่มเติม ในหัวข้อประโยชน์ โทษ และการใช้สารและผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัย  


        สื่อ/แหล่งเรียนรู้
                หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนปลาย
                อินเตอร์เน็ต
                สื่อ ETV
        วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ 
              ผลงานของผู้เรียน สรุปเนื้อหา และแผนผังความคิด
              การสังเกตผู้เรียน

        ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
                ผู้เรียนมีความตั้งใจในการค้นคว้า และสรุปเนื้อหาในสมุดบันทึกการเรียนรู้  ผู้เรียนออกมาเล่าให้ครูฟังจากที่สรุปได้ ทำใบงานที่แจกให้ได้ เรียนรู้ได้ตามวัย ไม่มีปัญหาด้านพัฒนาการ


        ปัญหาที่พบจากการจัดการเรียนการสอน
            เนื่องจากนักศึกษาม.ปลายมีเพียง 1 คน จึงสะดวกในการจัดการเรียนการสอน สามารถให้ข้อมูล และโต้ตอบกับผุ้เรียนได้สะดวก 
                  
        ครูได้แก้ไขเบื้องต้นอย่างไร  ผลเป็นอย่างไร
            -

        ข้อเสนอแนะ/ ข้อคิดเห็นของครูต่อการจัดการเรียนการสอนของครู
             คล้ายของประถมศึกษา และ ม.ต้น




นางวราจันทร์  ศรีวรรณบุตร
ครูกศน.ตำบลนิคมพัฒนา
ผู้รายงาน

7 ความคิดเห็น:

  1. การเขียนยันทึกหลังสอน ให้ยึดหัวข้อตามแบบฟอร์ม แต่ไม่ต้องเอาฟอร์มมาใส่ ให้เขียนอธิบายว่าได้ทำอะไร อย่างไร ใช้สือ อย่างไร ผู้เรียนมีส่วนร่วม แสดงออก อย่างไรเวลาทำกิจกรรมการเรียนรู้ ตรงนี้สำคัญมากค่ะ

    ตอบลบ
  2. แก้ไขพิมพ์ผิด บันทึกหลังสอนค่ะ

    ตอบลบ
  3. แก้ไขพิมพ์ผิด บันทึกหลังสอนค่ะ

    ตอบลบ
  4. การเขียนยันทึกหลังสอน ให้ยึดหัวข้อตามแบบฟอร์ม แต่ไม่ต้องเอาฟอร์มมาใส่ ให้เขียนอธิบายว่าได้ทำอะไร อย่างไร ใช้สือ อย่างไร ผู้เรียนมีส่วนร่วม แสดงออก อย่างไรเวลาทำกิจกรรมการเรียนรู้ ตรงนี้สำคัญมากค่ะ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณค่ะ ผอ. หนูจะนำไปปรับปรุงต่อไปค่ะ

    ตอบลบ
  6. ขอศึกษาเรียนรู้เพื่อจะนำไปปรับปรุงของตำบลบ้านเป้าด้วยนะคะ ^^

    ตอบลบ
  7. ขอดูเพื่อจะนำไปศึกษาปรับปรุงแก้ไขกับของตัวเองต่อนะครับ

    ตอบลบ