วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แผนการจัดการเรียนรู้รายสัปดาห์ วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น พบกลุ่มครั้งที่ 12

แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชา พว21001 วิทยาศาสตร์
จำนวน 
หน่วยกิต
แบบ    พบกลุ่ม    
ครั้งที่     12                  วันที่ 22 กรกฎาคม 2558                                   จำนวน  6  ชั่วโมง
เรื่อง             สาร
ตัวชี้วัด          1.  อธิบายสารและสารสังเคราะห์ได้
                   2.  อธิบายการใช้สารและผลิตภัณฑ์ของสารบางชนิดในชีวิตประจำวันและเลือกใช้ได้

เนื้อหา         สาร  
o   สารอาหาร
o   สารปรุงแต่ง
o   สารปนเปื้อน
o   สารเจือปน
o   สารพิษ

ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้ (ONIE MODEL)
ขั้นที่ 1  การกำหนดสภาพปัญหา  ความต้องการในการเรียนรู้
          1.  ครูสร้างความคุ้นเคยทำความเข้าใจกับวิชาพร้อมมาตรฐานและชี้แจงตัวชี้วัดของหน่วยการเรียนรู้
          2.  ครูทักทายกล่าวนำอธิบายการกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
          3.  ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายความหมายของสารและให้ยกตัวอย่างสารที่เกี่ยวข้องกับในชีวิตประจำวัน
          4.  ครูเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัยก่อนนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นที่ 2  การแสวงหาข้อมูล  และการจัดการเรียนรู้
          1.  ครูและผู้เรียนวางแผนวิธีการเรียนรู้เนื้อหาที่กำหนด
        2.  ครูอธิบายและยกตัวอย่างของสารแต่ละประเภทในชีวิตประจำวัน
          3.  ครูแบ่งกลุ่มผู้เรียน 3-5 คน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาสารในแต่ละประเภทจากใบความรู้ เรื่อง สาร
          4.  ผู้เรียนแต่ละกลุ่มออกมาอภิปรายสารในแต่ละประเภทตามที่กลุ่มตนเองได้รับมอบหมาย
          5.  ผู้เรียนทำใบงานเรื่อง สาร

ขั้นที่ 3  การปฎิบัติและการนำไปประยุกต์ใช้
             1.  ครูและผู้เรียนสรุปเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน และบอกสิ่งที่ได้เรียนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของนักศึกษาอย่างไร 
             2. นักศึกษานำเสนอแนวทางการใช้สารอย่างปลอดภัย ทำได้อย่างไรบ้าง
             3. ผู้เรียนสรุปสาระสำคัญของเรื่อง สาร โดยสรุปเป็นแผนผังความคิด

ขั้นที่ การประเมินผล
          1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินใบงานของแต่ละกลุ่มโดยการเขียนชื่อตนเองไว้ในใบงาน
          2. ครูสังเกตจากการมีส่วนร่วมของผู้เรียน

สื่อการเรียนรู้
1.    ใบความรู้ เรื่อง  สาร
2.    ใบงาน  เรื่อง  สาร
3.    หนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น
4.    อินเตอร์เน็ต

การวัดและผลประเมิน
          1.  ตรวจใบงาน เรื่องสาร
          2.  แบบสังเกตของครู
          3. ตรวจสมุดบันทึกของผู้เรียน


ใบความรู้ เรื่อง สาร

สาร หมายถึง สิ่งที่มีตัวตน มีมวลหรือน้ำหนัก ต้องการที่อยู่และสามารถสัมผัสได้ เช่น ดิน หิน อากาศ พืช และสัตว์ ทุกสิ่งทุกอย่างมที่อยู่รอบๆ ตัวเรา จัดเป็นสารทั้งสิ้น สารแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน แต่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานะได้  
1.  สารอาหาร (nutrients)  หมายถึง ส่วนประกอบที่เป็นสารเคมีที่มีอยู่ในอาหาร เมื่อบริโภคเข้าไปแล้วร่างกายสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ โดยคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการปริมาณมากและเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เรียก “macronutrients ” ส่วนวิตามิน และเกลือแร่เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการน้อย และไม่ให้พลังงาน เรียก “micronutrients” เสาวนีย์ (2544) อธิบายว่า สารอาหาร หมายถึง สารเคมีที่มีอยู่ในอาหาร มี 6 ชนิด คือ  คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน
เกลือแร่ และน้ำ
2. สารปรุงแต่ง
สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสและวัตถุเจือปนในอาหารที่นำมาใช้เพื่อปรุงแต่งสี กลิ่น รส และคุณสมบัติอื่น ๆ ของอาหาร มีอยู่ 3 ประเภท
    2.1 ประเภทที่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ได้แก่
2.1.1 สีต่าง ๆ ที่ใช้ผสมอาหาร ซึ่งเป็นสีธรรมชาติ ได้แก่
                                สีเขียว จากใบเตยหอม พริกเขียว
     สีเหลือง จากขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ลูกตาลยี ไข่แดง ฟักทอง ดอก
                                คำฝอย เมล็ดคำแสด
                                สีแดง จากดอกกระเจี๊ยบ มะเขือเทศ พริกแดง ถั่วแดง ครั่ง
                                สีน้ำเงิน จากดอกอัญชัน
                                สีดำ จากกากมะพร้าวเผา ถั่วดำ ดอกดิน
                                สีน้ำตาล จากน้ำตาลเคี่ยวไหม้ หรือคาราเมล
2.1.2 สารเคมีบางประเภท ได้แก่
                                สารเคมีประเภทให้รสหวาน เช่น  น้ำตาลทราย กลูโคสแบะแซ
                                สารเคมีที่เป็นสารแต่งกลิ่น เช่น น้ำนมแมว หรือหัวน้ำหอมจากผลไม้ต่าง ๆ
2.2 ประเภทที่อาจเกิดอันตรายหากใช้เกินขอบเขต
2.2.1 สีผสมอาหาร ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี แม้กฎหมายกำหนดให้ใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารได้ แต่หากใช้ในปริมาณมากและบ่อยก็อาจก่อให้เกิดต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ ปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภทเครื่องดื่มไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน มีดังนี้
1)  สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
สีแดง ได้แก่ เอโซรูบีน เออริโทรซิน
สีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
สีเขียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
สีน้ำเงิน ได้แก่ อินดิโกคาร์มีนหรืออินดิโกติน
2)  สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม
สีแดง ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์
สีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนบลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
2.2.2 ผงชูรส เป็นสารปรุงแต่งรสอาหาร มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมท ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง หรือจากกากน้ำตาล ลักษณะของผงชูรสแท้จะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีขาวขุ่น ปลายทั้ง 2 ข้างโตและมัน ตรงกลางคอดเล็กคล้ายกระดูก ไม่มีความวาวแบบสะท้อนแสง มีรสชาติคล้ายเนื้อต้ม ปริมาณที่ใช้ควรเพียงเล็กน้อย ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจมีอาการแพ้ผงชูรสได้ ควรใช้ผงชูรสประมาณ 1/500-1/800 ส่วนของอาหารหรือประมาณ 1 ช้อนชาต่ออาหาร 10 ถ้วยตวง และไม่ควรใช้ผงชูรสในอาหารทารกและหญิงมีครรภ์
2.2.3 สารเคมีที่ใช้กันเสียกันบูด เป็นสารประกอบทางเคมีหรือของผสมของสารประกอบที่ใช้เติมลงในอาหาร เพื่อชะลอการเน่าเสียหรือยืดอายุการเก็บอาหาร โดยจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และส่วนประกอบของเอนไซม์ ซึ่งทำให้การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์หยุดชะงักหรือตายได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อการแบ่งเซลล์ยับยั้งการสังเคราะห์ของโปรตีน ทำให้ขบวนการแบ่งเซลล์หยุดชะงัก จำนวนจุลินทรีย์จะไม่เพิ่มขึ้น การใช้วัตถุกันเสีย ไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้ กรณีที่จำเป็นต้องใช้ควรเลือกวัตถุกันเสียที่ปลอดภัยและใช้ในปริมาณที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
2.3 ประเภทเป็นพิษไม่ปลอดภัย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ปัจจุบันได้มีการใช้สารเคมีต่าง ๆ ปรุงแต่งอาหารเพื่อให้อาหารน่ารับประทานเก็บได้นานรวมทั้งราคาถูก และจากการตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐพบว่ามีการใช้สารเคมีที่กฎหมายห้ามใช้ในการปรุงแต่งในอาหารซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคถึงชีวิตได้
          
          3. สารปนเปื้อน
สารทุกชนิดที่ปนเปื้อนในอาหารโดยไม่ได้ตั้งใจซึ่งในที่นี้เป็นมูลที่เกิดจากการผลิตอาหาร (รวมถึงการเพาะปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และ การใช้ยาสัตว์) กรรมวิธีการผลิต โรงงานหรือสถานที่ผลิต การดูแลรักษา การบรรจุบรรจุภัณฑ์ การขนส่งหรือการเก็บรักษา หรือ เกิดจากการปนเปื้อน จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่รวมถึงชิ้นส่วนจากแมลง ขนสัตว์จำพวกสัตว์กัดแทะ (rodent) และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ

4. สารเจือปน
สารเจือปน คือ สารที่เข้าไปผสมทำให้ไม่บริสุทธิ์หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่วัตถุเจือปนอาหารจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามประโยชน์ที่ได้ ดังนี้
วัตถุเจือปนอาหารประเภทที่ให้เพื่อยืดอายุการเก็บของอาหารสาเหตุการเสียของอาหารนั้นมักจะเนื่องมาจากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประการ คือจากจุลินทรีย์ และ ปฏิกิริยาทางเคมี วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้เพื่อป้องกันการเสียจากสาเหตุที่กล่าวมาจึงได้แก่วัตถุกันเสียและวัตถุกันหืน เป็นต้น
วัตถุกันเสีย (Preservatives) สามารถช่วยยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ที่จะทำให้อาหารเกิดการเน่าเสีย ทำให้สามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาของอาหารได้
วัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในอาหาร
1. กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอต นิยมใช้กันมาก โดยทั่วไปนิยมใช้ในรูปของเกลือเพราะละลายได้ดีกว่าในรูปของกรด อาหารที่เหมาะที่จะใช้วัตถุกันเสียชนิดนี้ควรเป็นอาหารที่มีความเป็นกรดสูง หรือมีการเติมกรดลงไป เช่น น้ำอัดลม แยม เยลลี่ น้ำสลัด ผักดอง
2. เอสเทอร์ของกรดพาราไฮดรอกซิเบนโซอิก มีประสิทธิภาพที่ดีในช่วงความเป็นกรดเบส ที่ค่อนข้างกว้าง คือ pH 2-9 จะนิยมใช้กันมาก อาหารที่ใช้ คือ น้ำผลไม่ต่าง ๆ แยม เยลลี่ เป็นต้น สำหรับปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อ อาหาร 1 กิโลกรัม
3. กรดซอร์บิกและเกลือซอร์เบส นิยมใช้กันมาก เพราะ สามารถถูกเผาผลาญได้แบบเดียวกับกรดไขมันในธรรมชาติ ประสิทธิภาพนี้จะดีที่สุด ในช่วงความเป็นกรด-เบส ต่ำกว่า 6.5 และนิยมใช้ในรูปของเกลือ สำหรับอาหารทั่วไปที่นิยมใช้ ได้แก่ เนยแข็ง  เนยเทียม  ผลิตภัณฑ์ขนมอบต่าง ๆ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ต่าง ๆ แยม เยลลี่ น้ำสลัด ผลไม้แห้ง ผักแห้ง ผักดองต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์เนื้อ และผลิตภัณฑ์ปลาต่าง ๆ เป็นต้น
4. กรดโพรพิโอนิกและเกลือโพรพิโอเนต มีคุณสมบัติต่างจากวัตถุกันเสียพวก เบนโซเอต คือสามารถชะงักการเจริญเติบโต ของแบคทีเรีย รา ได้ดีกว่ายีสต์ จึงนิยมใช้วัตถุกันเสียชนิดนี้ในผลิตภัณฑ์ประเภทขนมปัง หรือผลิตภัณฑ์ ที่มีการทำให้ขึ้นฟูโดยยีสต์
5. ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และเกลือซัลไฟต์ เป็นวัตถุกันเสียที่รู้จักใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้ในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในการทำไวน์ ต่อมามีการนำมาใช้ในเครื่องดื่มพวกน้ำหวาน ผักและผลไม้แห้ง เป็นต้น เมื่อซัลเฟอร์ไดออกไซด์และเกลือซัลไฟต์ละลายน้ำจะได้กรดซัลฟิวรัสซึ่งจะช่วยในการทำลายหรือชะงักการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้
6. สารประกอบไนเทรต ส่วนใหญ่มักใช้ให้เกิดสีในผลิตภัณฑ์เนื้อ ต่อมาพบว่าผลพลอยได้จากการใช้สารดังกล่าวจะช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อClostridium botulinum และการสร้างสารพิษของเชื้อดังกล่าวในผลิตภัณฑ์เนื้อและปลาลงได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการงอกของสปอร์ได้
7. เอทิลีนและโพรไพลีนออกไซด์ เป็นวัตถุกันเสียที่เป็นก๊าช ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความชื้นต่ำ เช่น พวกธัญชาติและเครื่องเทศต่างๆ เป็นต้น จะช่วยทำลายจุลินทรีย์ประเภทยีสต์ รา และแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมาได้ดี
วัตถุกันหืน (Antioxidants) สามารถช่วยชะลอให้ปฏิกิริยาทางเคมีดังกล่าวเกิดช้าลง ทำให้อายุการเก็บของอาหารดีขึ้น และ ประสิทธิภาพของวัตถุกันหืนจะดีขึ้น ถ้าใช้ร่วมกับสารเสริมฤทธิ์วัตถุกันหืน
วัตถุกันหืนที่นิยมใช้
1. Ascorbyl Palmitate เป็นวัตถุกันหืนที่นิยมใช้เพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชัน ที่มีเหล็กเป็นตัวเร่งได้ ในท้องตลาดมักจำหน่ายในรูปของสารผสม ระหว่างAscorbyl Palmitate และ Tocopherol เนื่องจากพบว่าจะทำให้ประสิทธิภาพดีขั้น นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภทไขมันและน้ำมัน เนย และนมผง เป็นต้น
2. BHA (Butylate Hydroxy Anisole) ที่ใช้กันส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปสารผสม 2 และ3 –tert-butyl-4-hydroxyanisole หรืออาจใช้ร่วมกับ gallate เพื่อให้ประสิทธิภาพดีขั้น เป็นวัตถุกันหืนที่นิยมใช้กันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทไขมันและน้ำมันเป็นส่วนประกอบ
3. BHT (Butylate Hydroxy Toluene ) เป็นวัตถุกันหืนที่นิยมใช้เช่นเดียวกัน BHA มีคุณสมบัติและประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เวลาใช้มักใช้ผสมกับวัตถุกันหืนชนิดอื่นเพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้น
4. Isoascobic Acid และ Sodium Isoascobate เป็นวัตถุกันหืนที่ใช้ป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชัน ของอาหารที่มีไขมันและน้ำมันเป็นส่วนประกอบ วิธีการใช้ อาจใช้เพียงอย่างเดียวหรือ ใช้ร่วมกัน Ascorbic ก็ได้
5. Tocopherol หรือ วิตามินอี เป็นวัตถุกันหืนที่มีอยู่ตามธรรมชาติในน้ำมันพืช หรืออาจสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาทางเคมี เวลาใช้มักใช้ร่วมกับวัตถุกันหืนชนิดอื่นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
6. Gallate Propyl , Octyl และ Dodecyl Gallates เป็นเอสเทอร์ของกรดGallic เป็นวัตถุกันหืนที่มีคุณภาพดีมาก ช่วยป้องกันการเกิดเพอร์ออกไซด์ได้ดีประสิทธิภาพจะขั้นกับน้ำหนักโมเลกุลและความเข้มข้น ข้อเสีย คือหากใช้ในอาหารที่มีการปนเปื้อนของเหล็ก จะเกิดสีม่วงขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้ โดยการใช้ร่วมกับซีเควสเตรนท์

5. สารพิษ
    สารพิษในอาหาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
   5.1 สารพิษที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในส่วนประกอบของอาหารซึ่งจะพบอยู่ในพืชและสัตว์ สิ่งเหล่านี้จะมีโทษต่อมนุษย์ก็ด้วย ความไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปเก็บเอาอาหารที่เป็นพิษมาบริโภค เช่น พิษจากเห็ดบางชนิด ลูกเนียง แมงดาทะเลเป็นพิษสารพิษในหัวมันสำปะหลังดิบ เป็นต้น
   5.2 สารพิษที่เกิดจากการปนเปื้อนในอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งแบ่งเป็นสารพิษที่มาจากจุลินทรีย์ซึ่งมี 2 ประเภทใหญ่   คือ  อันตรายที่เกิดจากตัวจุลินทรีย์และอันตรายที่เกิดจากสารพิษ     ที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น
จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดพิษเนื่องจากตัวของมันเอง มีอยู่ 5 พวก ได้แก่
1. แบคทีเรีย เช่น Salmonella Shigella Vibrio
2. รา เช่น Aspergillus Penicillin fusarum Rhizopus
3. โปรโตซัว เช่น Entamoeba histolytica
4. พาราสิต เช่น Trichinosis Tapeworms
5. ไวรัส เช่น Poliovirus Hepatitis Virus

จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดพิษภัยอันเนื่องมาจากสารพิษที่สร้างขึ้นในขณะที่จุลินทรีย์นั้นเจริญเติบโตแล้วปล่อยทิ้งไว้ในอาหาร มีทั้งสารพิษของแบคทีเรีย และของเชื้อรา สารพิษที่สำคัญที่พบ ได้แก่ สารพิษที่เกิดจาก Clostridium botulinum เป็นจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้เกิดพิษในอาหารกระป๋องและสารพิษจากเชื้อรา ที่เรียกว่าAlflatoxin มักจะพบในพืชตะกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วลิสงและผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ได้แก่  ถั่วกระจก ขนมตุ๊บตั๊บ น้ำมัน ถั่วลิสง เป็นต้น
   5.3  พิษที่เกิดจากสารเคมี ซึ่งปะปนมากับอาหาร ได้แก่ สารหนู และโซเดียมฟลูออไรด์ ที่มีอยู่ในยาฆ่าแมลง หรือยาฆ่าวัชพืชต่าง ๆ สำหรับยาฆ่าแมลงซึ่งใช้มากเกินไปหรือเก็บพืชผลเร็วกว่ากำหนดเมื่อกินผักผลไม้เข้าไปจะทำให้ร่างกายสะสมพิษและเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งได้



ใบงาน
เรื่อง  สาร

คำชี้แจง     ให้ผู้เรียนเขียนคำตอบที่ถูกต้องลงในช่องว่าง

1.  ให้ผู้เรียนบอกชื่ออาหารที่มีสารปรุงแต่ง สารปนเปื้อน และสารเจือปนอย่างละ 5 ชนิด พร้อมอธิบายลักษณะที่บ่งบอกประเภทของสารนั้นด้วย
อาหารที่มีสารปรุงแต่ง...............................................................................................................
............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
อาหารที่มีสารปนเปื้อน...........................................................................................................
............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
อาหารที่มีสารเจือปน...............................................................................................................
............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................



หมายเหตุ แผนการสอนนี้ได้ใช้กับนักศึกษากลุ่มปกติ แล้วพบว่า นักศึกษาบางคนไม่สามารถสรุปสาระสำคัญของเรื่องได้ และได้นำไปใช้ทำวิจัยในชั้นเรียน จึงได้นำแผนผังความคิดมาทดลองใช้กับกลุ่มนักศึกษากลุ่มฟื้นฟูฯ เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



นางวราจันทร์  ศรีวรรณบุตร
ครูกศน.ตำบลนิคมพัฒนา
ครูกศน.ตำบล

4 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมไปเลยคะครูนุ้ยครูปิ่นต้องขอคำปรึกษาด้วยนะคะ

    ตอบลบ
  2. เยี่ยมไปเลยคะครูนุ้ยครูปิ่นต้องขอคำปรึกษาด้วยนะคะ

    ตอบลบ