วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกหลังสอน ครั้งที่ 15

บันทึกหลังสอน ครั้งที่ 15
วันที่ 15 สิงหาคม 2558
ณ กศน.ตำบลนิคมพัฒนา
...........................................


                 นักศึกษาประถมศึกษา                   จำนวน  1    คน    มาเรียน 1 คน     ขาดเรียน - คน
                 นักศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น        จำนวน  17 คน     มาเรียน 14 คน   ขาดเรียน 3 คน
                 นักศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย    จำนวน 28 คน     มาเรียน 20 คน   ขาดเรียน 8 คน
                                               รวมทั้งสิ้น        จำนวน  46 คน    มาเรียน  35 คน  ขาดเรียน 11 คน

             
                     วันเสาร์ ที่ 15 สิงหาคม 2558 เรียนชดเชยของวันที่ 14 สิงหาคม 2558 ซึ่งนักศึกษาและครูได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดลำปาง 
                    เวลา 08.30 น. นักศึกษาเริ่มทยอยมาถึงกศน.ตำบล ครูให้ทำความสะอาดกศน. พื้น ปัดกวาดเช็ดถู และรดน้ำต้นไม้รอบอาคารก่อน จนกระทั่งเวลา 09.15 น. จึงเริ่ม Homeroom ซึ่งมีหัวข้อดังต่อไปนี้

                   1. กำหนดการส่งงาน โครงงาน รายงาน และสมุดบันทึกกรต. ของผู้เรียน ในวันที่ 28 สิงหาคม 2558 เป็นครั้งที่ 1 เพื่อดูความก้าวหน้า และสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขมาส่งอักครั้ง สุดท้าย ในวันที่ 4 กันยายน 2558 ซึ่งเป็นการพบกลุ่มครั้งที่ 18 เบื้องต้นนักศึกษาอยู่ระหว่างการทำผลงานชิ้นงาน หากใครที่ยังไม่ได้เริ่ม จะได้ติดตามได้ทันท่วงที
                   2. แจ้งกำหนดวันสอบปลายภาคเรียน 1/2558 วิชาบังคับในวันที่ 19-20 กันยายน 2558 เพื่อให้นักศึกษาได้เตรียมตัว เช่น ลางาน อ่านหนังสือสอบ ซึ่งตารางสอบ ครูจะแจ้งให้ในกลุ่มเฟซบุ๊ค กศน.ตำบล 
                   3. การเรียนการสอนครั้งที่ 16 ซึ่งเดิมเป็นวันที่ 21 สิงหาคม 2558 ให้เลื่อนไปเป็นวันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2558 เวลา 09.00 น.เป็นต้นไป เนื่องจากครูติดภารกิจงานประเมินสถานศึกษาพอเพียง และนัดหมายนักศึกษาที่จะไปร่วมให้คณะกรรมการสัมภาษณ์ ที่ กศน.อำเภอเมืองลำปาง ได้แก่ น.ส.เจนจิรา เจนจิรพจน์ เกี่ยวกับการได้รับรางวัลสุดยอดภาพถ่ายต้านยาเสพติดฯ 




การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ขอยกตัวอย่าง 
วิชาภาษาไทย  เรื่องสุภาษิตคำพังเพย  โดยแบ่งเป็น
   - สุภาษิตคำพังเพยที่พบและใช้บ่อย 
   - สุภาษิตคำพังเพยล้านนา 
   - งานประเพณีของชาวละกอน
           และให้นักศึกษาค้นคว้าหาความหมาย สุภาษิตล้านนา วิธีการนำไปใช้ที่เหมาะสม ลงในใบงานที่ครูให้ ซึ่งผู้เรียนชอบและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรม สื่อที่ใช้ส่วนใหญ่คือ อินเตอร์เน็ต ช่วยกันหาคำตอบแล้วแลกเปลี่ยนกันอธิบาย 
ตัวอย่างใบงาน

ตัวอย่างใบงาน


วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสารและผลิตภัณ์ในชีวิต 

           ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างมาก และได้ทำการวิจัยในหัวข้อนี้ สอนโดยใช้แผนผังความคิดเพื่อสรุปใจความสำคัญ  ให้ครอบคลุมเนื้อหาดังนี้
                      1.1   สารอาหาร
1.2   สารอาหารที่ให้พลังงาน
1.3   สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน
1.4   การทดสอบอาหาร
1.5   อาหารกับสุขภาพ

         และกลุ่มผู้ตัวอย่าง ได้ทดลอง ฝึกเขียน แผนผังความคิด (mind mapping) มาให้ครูดู และนำไปปรับปรุง ก่อนที่จะทำการทดสอบหลังการวิจัย ในสัปดาห์ถัดไป


ปัญหาและอุปสรรค
       การติดตามงานที่ตนเองขาดเรียน ของนักศึกษา ซึ่งบางครั้งไม่มาเรียน และตามไม่ทันเพื่อน ทำให้เกิดปัญหา อันเก่าไม่เสร็จ อันใหม่ยังไม่ได้ทำ การแก้ปัญหาคือ ครูจะแขวนไฟล์ใบงาน ไว้ที่เฟซบุ๊คของกลุ่มกศน.ตำบล สามารถไปโหลดและปริ๊น และทำมาส่งในครั้งต่อไป รวมถึงครูได้แนะนำมิให้ขาดเรียนบ่อยนัก ให้เห็นถึงความสำคัญของการมาเรียน รับผิดชอบต่อตนเองมากยิ่งขึ้น


จากการเรียนการสอน ครูได้สอดแทรกปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่อง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ดังนี้
         1. หลักความพอประมาณ
         เด็กๆได้ฝึกคิด และทบทวนตนเอง เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง การเข้ามาใช้สถานที่ ซึ่งเป็นห้องเรียน ต้องรับผิดชอบดูแลความสะอาดเรียบร้อยของห้องเรียนด้วย
        2. หลักความมีเหตุผล
        ในเรื่องการลำดับขั้นตอนความสำคัญของงานที่ครูสั่ง  การเรียน และภารกิจงานประจำของตนเอง เช่น งานที่จะต้องส่งครู วันที่ 28 สิงหาคมนี้ จะต้องวางแผนว่าจะทำสิ่งใดก่อน-หลัง ต้องฝึกความเป็นผู้มีเหตุผล เพราะเหตุใดต้องทำงานใดก่อนหรือหลัง ให้ฝึกคิดและปฏิบัติด้วยตนเอง   
        3. หลักของการมีภูมิคุ้มกันที่ดี 
        ในเรื่องของการเรียน เนื้อหาที่ยาก หรือมีรายละเอียดมากจะต้องใช้วิธีใดให้ผู้เรียนสามารถจดจำ และเข้าในเรื่องนั้นๆ สามารถนำไปใช้ได้ เช่น เรื่องการนำแผนที่ความคิดมาใช้ในการสรุปประเด็นสำคัญ เป็นการสร้างภูมิความรู้ของตนเอง ต่อไป 
        4. เงื่อนไขความรู้ 
         การค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ทั้งจากตำรา และสื่ออินเตอร์เน็ต ในเรื่องที่ยังไม่เข้าใจ ส่วนเรื่องที่รู้แล้วก็สามารถบอกเล่าให้เพื่อนร่วมชั้นฟังได้ เป็นการเพิ่มพูนความรู้
        5. เงื่อนไขคุณธรรม    
        การฝึกให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการส่งงาน รับผิดชอบต่อการสอบที่จะถึง ฝึกความมีน้ำใจ เสียสละ ดูแลสถานศึกษาของตนเอง ห้องเรียนและต้นไม้รอบอาคาร เป็นต้น



นางวราจันทร์ ศรีวรรณบุตร
ครูกศน.ตำบลนิคมพัฒนา
ผู้รายงาน

2 ความคิดเห็น: