ข้อมูลพื้นฐานและบริบทชุมชนตำบลนิคมพัฒนา
ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนิคมพัฒนา
เป็นหน่วยงานที่รับมอบหมายงานจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองลำปาง
สำนักงานการศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงศึกษาธิการ
เดิมตัวอาคารตั้งอยู่ด้านหลังอาคาร องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา หมู่ที่ 1 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
ต่อมาได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก กองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จำนวน 850,000 บาท
โดยมีองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนาเป็นผู้จัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างอาคาร
เพื่อเป็นอาคารเรียนและทำกิจกรรมของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ในปัจจุบันมี นางวราจันทร์ ศรีวรรณบุตร เป็นครูกศน.ตำบลนิคมพัฒนา
ตำบลนิคมพัฒนา
อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองลำปาง
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 17 กิโลเมตร
ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1035 (ถนนสายลำปาง - แจ้ห่ม) ประมาณ 17 กิโลเมตร
เขตการปกครอง
ตำบลนิคมพัฒนา มีหมู่บ้านจำนวน 14 หมู่บ้าน 1,976 ครัวเรือน อยู่ในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนาทั้งหมด
ดังนี้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
ครัวเรือน
|
ชาย
|
หญิง
|
หมายเหตุ
|
1
|
บ้านวังศรีภูมิ
|
255
|
294
|
306
|
|
2
|
บ้านชัยมงคล
|
141
|
226
|
23
|
|
3
|
บ้านโชคชัย
|
194
|
277
|
265
|
|
4
|
บ้านใหม่พัฒนา
|
124
|
155
|
153
|
|
5
|
บ้านคลองน้ำลัด
|
98
|
104
|
124
|
|
6
|
บ้านวังทอง
|
128
|
169
|
185
|
|
7
|
บ้านชัยภูทอง
|
154
|
186
|
220
|
|
8
|
บ้านร่มเย็น
|
125
|
162
|
182
|
กำนัน
|
9
|
บ้านร่มไตรรัตน์
|
131
|
180
|
184
|
|
10
|
บ้านรวมชัย
|
127
|
141
|
136
|
|
11
|
บ้านน้ำริน
|
65
|
78
|
79
|
|
12
|
บ้านศรีไตรภูมิ
|
111
|
153
|
156
|
|
13
|
บ้านเวียงทอง
|
152
|
160
|
146
|
|
14
|
บ้านวังเงิน
|
171
|
241
|
245
|
ประชากรตำบลนิคมพัฒนามีจำนวนประชากร จำนวน 5,139 คน เป็นชาย 2,526
คน หญิง จำนวน 2,612 คน ความหนาแน่นของประชากร เฉลี่ย 65 คน/
ตารางกิโลเมตร
อาชีพ
การประกอบอาชีพหลักของประชากร ในตำบล
ได้แก่ การเกษตรกรรม
ส่วนใหญ่เป็นการปลูกข้าว ข้าวโพด แตงกวา การเลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไปการประกอบอาชีพหลักของประชากร ในตำบล 14 หมู่บ้าน ได้แก่
การเกษตรกรรม การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ และรับจ้างทั่วไป แต่ยังพบว่าประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
จึงมีการเพิ่มรายได้ด้วยการทำอาชีพเสริม เช่น หมู่ที่ 2 มีการทอผ้าด้วยกี่กระตุก หมู่ที่ 5 นวดแผนโบราณเพื่อคลายเส้นและบรรเทาความเจ็บปวด และการแปรรูปปลาร้า, หมู่ที่ 8 การทำข้าวซ้อมมือปลอดสารพิษ, หมู่ที่ 12
การเพาะเห็ดนางฟ้า เป็นต้น ทำการค้าขาย และธุรกิจในชุมชน
กลุ่มอาชีพประดิษฐ์กะลา |
บริบทตำบลนิคมพัฒนา
กล่าวได้ว่ามีความอุดมสมบูรณ์ทางการชลประทาน ร้อยละ 80 ของพื้นที่อยู่ในเขตชลประทาน ซึ่งสามารถทำการเกษตรได้ทั้งปี เช่น ข้าว
ข้าวโพด ถั่วเหลือง แตงกวา ไม้ผล เป็นส่วนใหญ่ และอื่นๆ มีบ้างเล็กน้อย เช่นปลูกอ้อย
ยางพารา เป็นต้น แต่ส่วนมากก็ยังใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ในการบำรุงพืชผล
ซึ่งนอกจากจะเพิ่มต้นทุนแล้ว ยังอาจมีสารพิษตกค้างในพืชผล ดิน และน้ำ
ระยะหลังๆจึงมีการส่งเสริมให้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
เช่น บ้านคุณเมธาสินธุ์-คุณธัญวรัตน์ ชัยลิ้นฟ้า หมู่ที่ 5 บ้านคลองน้ำลัด ได้เรียนรู้ในโครงการของกศน.และนำไปต่อยอดในครอบครัว แม้ว่าจะพิการ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรค เลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงปลา เลี้ยงหมูหลุม ปลูกพืชผัก ในบ้านของตนเอง จึงเป็นที่น่าสนใจในการที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนตำบลนิคมพัฒนาควรจะได้รับการส่งเสริมทางด้านนี้อย่างเข้าใจและสามารถนำไปใช้ได้จริงกับการเกษตรในครัวเรือนหรือที่ทำกินของตน
ซึ่งนอกจากเรื่องการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีแล้ว ยังมีประเด็นอื่นๆเช่น การใช้พื้นที่ทางการเกษตรได้เหมาะสม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ได้หลากหลาย หรือ ไร่นาสวนผสม อาชีพเสริมด้านต่างๆของประชาชน เช่น
กลุ่มข้าวซ้อมมือบ้านร่มเย็น ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักในจังหวัดลำปาง เพราะเป็นสินค้าที่ผ่านกระบวนการปลอดสารพิษตั้งแต่กระบวนการปลูกข้าว การดูแล การเก็บเกี่ยว การแปรรูปเป็นข้าวซ้อมมือ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกศน.ตำบลนิคมพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่องการพัฒนาการทำธุรกิจข้าวซ้อมมือ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวซ้อมมือ ในปีงบประมาณ 2555 และ 2556
กลุ่มทอผ้าบ้านชัยมงคล หมู่ที่ 2 มีการรวมกลุ่มสมาชิกในหมู่บ้านเพื่อสืบสานการทอผ้าด้วยกี่กระตุก ที่เป็นมรดกสืบทอดมานาน จนเป็นสินค้าที่เป็นที่รู้จักในตำบลและในจังหวัดลำปาง ต่อมาได้รับการสนับสนุนจาก กศน.ตำบลนิคมพัฒนา ในปี 2557-2558 ในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ ให้มีสินค้าหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น กลุ่มทำปลาร้าบ้านคลองน้ำลัด มีการทำปลาร้าไว้บริโภคในครัวเรือน จนปัจจุบันมีการจำหน่ายในร้านค้าสหกรณ์ในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน
ซึ่งนอกจากเรื่องการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีแล้ว ยังมีประเด็นอื่นๆเช่น การใช้พื้นที่ทางการเกษตรได้เหมาะสม ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ได้หลากหลาย หรือ ไร่นาสวนผสม อาชีพเสริมด้านต่างๆของประชาชน เช่น
กลุ่มข้าวซ้อมมือบ้านร่มเย็น ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักในจังหวัดลำปาง เพราะเป็นสินค้าที่ผ่านกระบวนการปลอดสารพิษตั้งแต่กระบวนการปลูกข้าว การดูแล การเก็บเกี่ยว การแปรรูปเป็นข้าวซ้อมมือ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกศน.ตำบลนิคมพัฒนาอย่างต่อเนื่องเรื่องการพัฒนาการทำธุรกิจข้าวซ้อมมือ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวซ้อมมือ ในปีงบประมาณ 2555 และ 2556
กลุ่มทอผ้าบ้านชัยมงคล หมู่ที่ 2 มีการรวมกลุ่มสมาชิกในหมู่บ้านเพื่อสืบสานการทอผ้าด้วยกี่กระตุก ที่เป็นมรดกสืบทอดมานาน จนเป็นสินค้าที่เป็นที่รู้จักในตำบลและในจังหวัดลำปาง ต่อมาได้รับการสนับสนุนจาก กศน.ตำบลนิคมพัฒนา ในปี 2557-2558 ในเรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือ ให้มีสินค้าหลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น กลุ่มทำปลาร้าบ้านคลองน้ำลัด มีการทำปลาร้าไว้บริโภคในครัวเรือน จนปัจจุบันมีการจำหน่ายในร้านค้าสหกรณ์ในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน
ด้านการศึกษาประชากรวัยเรียนส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามนโยบายของรัฐบาล
และได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. และมหาวิทยาลัยเป็นส่วนใหญ่
เมื่อจบการศึกษาส่วนมากจะทำงานต่างถิ่น ต่างจังหวัด
และส่วนน้อยจะกลับเข้ามาทำงานในภูมิลำเนาของตนเองในวัยกลางคนแต่ก็ยังมีผู้ที่พลาดโอกาส และขาดโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียน ที่สมัครมาเรียนกับกศน.เพื่อนำไปศึกษาต่อระดับที่สูงขึ้น และประกอบสัมมาอาชีพต่อไป
บริบทด้านสภาพสังคมของประชากร
14 หมู่บ้าน ตำบลนิคมพัฒนาโดยทั่วไป มีการถ้อยทีถ้อยอาศัยช่วยเหลือเกื้อกูลจะเห็นได้จากการร่วมมือร่วมใจในกิจกรรมต่างๆ
เช่น งานบวช งานบุญประจำปีวัดสันตินิคม ม.9 เป็นต้น
มีประเพณีที่สืบทอดเป็นเวลานาน เช่นประเพณีรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ งานบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนนับถือในวันสงกรานต์ ประชากรวัยแรงงานที่ไปทำงานต่างถิ่น ต่างจังหวัด จะกลับบ้านในช่วงเทศกาล และในปี 2558
ตำบลนิคมพัฒนาได้รับการยอมรับจากอำเภอเมืองลำปาง และจังหวัดลำปาง
ให้เป็นตำบลต้นแบบนำร่องในการพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามพระราชดำริ
และดำเนินงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอเมืองลำปางครอบคลุมทั้ง 14 หมู่บ้าน โดยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ดำเนินการสำรวจข้อมูลรายครัวเรือนและสรุปข้อมูลความต้องการของชุมชนเพื่อทำแผนการดำเนินงานพัฒนาต่อไป
**ข้อมูลเหล่านี้สามารถติดตามได้ทางเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/nefnikompattana/
**ข้อมูลเหล่านี้สามารถติดตามได้ทางเว็บไซต์ https://sites.google.com/site/nefnikompattana/
วิเคราะห์การประเมินผลและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานในรอบปี
จุดแข็ง
|
จุดอ่อน
|
1. กศน. มีศูนย์การเรียนเป็นเอกเทศ ตั้งอยู่ศูนย์กลางชุมชนและมีครูประจำศูนย์การเรียน
2. ชุมชนมีความเข้มแข็ง พร้อมรับการเรียนรู้ สนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ จะเห็นจากการเข้าร่วมโครงการปิดทองหลังพระทั้ง 14 หมู่บ้าน
3. มีแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาในพื้นที่ ที่หลากหลาย เช่นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ม.12 กลุ่มปลาร้า ม.5 กลุ่มผ้าทอมือ ม.2 ดอนหนองหล่ม และพร้อมที่จะได้รับการสนับสนุน โดยได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชน
4.มีโครงการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนท้องถิ่นปรัชญาและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
5.มีทรัพยากร วัตถุดิบในพื้นที่หลากหลายและเอื้อต่อการจัดกิจกรรมเสริมเพิ่มรายได้ เช่น ฟางข้าว มูลวัว กะลามะพร้าว เป็นต้น และมีพื้นที่เกษตรกรรมกว้างขวาง
|
1. ประชากรประสบปัญหาหนี้สิน ปัญหายาเสพติด ปัญหาครอบครัวแตกแยก
2. นักศึกษาขาดความใส่ใจในการพบกลุ่มอย่างต่อเนื่องและให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมบางกิจกรรมน้อย เนื่องจากติดภารกิจงานประจำ และงานในชุมชน
3. ประชาชน/ชุมชน ใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไม่คุ้มค่า เช่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานที่สำคัญ
4. สื่อการเรียนและสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับบริการผู้เรียนและผู้รับบริการยังไม่ทั่วถึง เช่น สัญญาณอินเตอร์เน็ต
|
โอกาส
|
อุปสรรค
|
1. ประชาชนให้ความสนใจกับงานการศึกษานอกโรงเรียน
2. ครู/วิทยากรภายนอก มีความสามารถในการออกแบบกิจกรรม และจัดทำแผนจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
3. มีภาคีเครือข่าย
(หน่วยงานภาครัฐ/องค์กร)ในพื้นที่ให้การสนับสนุนการทำงาน เช่น นิคมสร้างตนเองกิ่วลม โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาสวัสดิการผู้สูงอายุ สถานพัฒนาและฟื้นฟูเด็กจังหวัดลำปาง ซึ่งมีแผนปฏิบัติงานค่อนข้างสอดคล้องกัน
|
1. ผู้รับบริการไม่ค่อยมีเวลาและมีเวลาว่างไม่ตรงกัน
ยากต่อการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นสังคมเกษตรกรรม
ที่มุ่งการประกอบอาชีพมากกว่าการศึกษาต่อ
2. ประชากรยังขาดทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาษาอาเซียน
3. งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน
|
ทิศทางการดำเนินงานของ กศน.ตำบล
วิสัยทัศน์
ภายในปี 2560 กศน.ตำบลนิคมพัฒนา จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิต
โดยการประสานงานและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
ปรัชญา
ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อชุมชน
เอกลักษณ์
จัดการศึกษาโดยใช้กศน.ตำบลเป็นฐานการเรียนรู้
อัตลักษณ์
ใฝ่เรียนรู้
คู่คุณธรรม
คำขวัญ
จิตอาสา บริการประชาชน
พันธกิจ
1.จัดและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชนที่อยู่นอกโรงเรียนอย่างมีคุณภาพ
2.พัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้ผู้เรียน ผู้รับบริการ มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา
3.พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานการศึกษาต่อเนื่องเพื่อการมีงานทำของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
4.ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่ชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อการเรียนรู้
5.ส่งเสริมสนับสนุนและกระตุ้นภาคเครือข่าย
ชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การวิเคราะห์ชุมชน
การวิเคราะห์ชุมชน
จากการวิเคราะห์ชุมชน ได้นำข้อมูลมาจากการประชาคมของหมู่บ้านและการนำเสนอของผู้นำชุมชนในการประชุมในรอบปีที่ผ่านมา ได้นำสรุปเป็นข้อมูลภสภาพปัญหาและความต้องการแต่ละด้าน สาเหตุของปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหา ดังตาราง
สภาพปัญหา/ความต้องการ
|
สาเหตุของปัญหา
|
การวิเคราะห์แนวทางแก้ไข
|
1.ด้านการศึกษา
- ประชากรในวัยแรงงาน 15-59 ปี ยังไม่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และบางส่วนยังไม่รู้หนังสือ
-ประชาชนไม่สนใจการอ่าน |
- การขาดโอกาสในการศึกษา
- เยาวชนที่ผิดพลาดจากการเรียนในระบบโรงเรียน ติดเกมส์ ท้องในวัยเรียน
- มีสิ่งยั่วยุมาก เช่น เกม โซเชียลเน็ตเวิร์ค และมีภารกิจงานประจำ |
- การส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งทางด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยประชาสัมพันธ์ให้มาเรียนกับกศน. ผ่านเพื่อนชวนเพื่อน ผ่านผู้นำชุมชน และส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือให้อ่านออกเขียนได้
- กิจกรรมส่งเสริมการอ่านในชุมชน กิจกรรมชุมชนรักการอ่าน โครงการบรรณสัญจร - กิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน เช่นลูกเสือ ยุวกาชาด - กิจกรรมเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม |
2.ด้านอาชีพ
- ประชากรร้อยละ 80ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งทำให้มีผลผลิตต่อปีจำนวนมาก แต่ยังพบว่าประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
|
- ผลผลิตทางการเกษตรซึ่งมีราคาไม่เสถียรในแต่ละปี ทำให้รายได้ไม่เสถียรตามไปด้วย
|
- โครงการส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้กับประชากร คือการต่อยอดอาชีพการพัฒนาผลิตภัณฑ์กะลา
- พัฒนาทักษะช่างพื้นฐาน ช่างไฟฟ้าพื้นฐาน
- อาชีพระยะสั้นตามกลุ่มสนใจ
|
3.ด้านสังคม
- เยาวชน ใช้เวลาว่างที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ติดเกมส์ ติดเพื่อน และมั่วสุม
|
- ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยยาเสพติด
|
3.รณรงค์ให้รู้ถึงภัยของยาเสพติด โดยผ่านกิจกรรม และสอดแทรกในการเรียนการสอน เช่นการเล่นกีฬา การส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ การส่งเสริมทางวัฒนธรรมประเพณี ลดช่องว่างระหว่างวัยโดยใช้กิจกรรมกพช. สอดแทรกในเนื้อหาบทเรียน
|
4.ด้านสาธารณสุข/ความปลอดภัย
- ปัญหาสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ และขาดการดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคซึมเศร้า
-ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพสิน อุบัติเหตุบนท้องถนน |
- ผู้สูงอายุขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง
-ลูกหลานทอดทิ้งผู้สูงอายุ ไปทำงานต่างพื้นที่ ต่างจังหวัด
-จากพื้นที่ตำบลเป็นทางผ่านของรถบรรทุก และสภาพภูมิประเทศเป็นเนินเขาระยะทางไกล ทำให้เิดอุบัติเหตุบ่อย |
- จัดอบรมดูแลผู้สูงอายุและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
- กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ในเทศกาลสงกรานต์ ของทุกปี
-กิจกรรมขับขี่ปลอดภัย สร้างวินัยจราจร |
5.ด้านเศรษฐกิจ
- ภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนมากเกินความจำเป็น ประชากรมีรายได้แต่เป็นหนี้สิน
|
- การใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีในการเกษตรที่สร้างค่าใช้จ่ายมากในการเกษตรแต่ละฤดู
- ขาดการทำบัญชีครัวเรือน |
- การส่งเสริมการเรียนรู้ตามทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเรียนรู้ด้วยกระบวนการบัญชีครัวเรือน และนำมาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาต่อเนื่อง
-ส่งเสริมจัดตั้งหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท |
การจัดทำแผนการปฏิบัติงานกศน.ตำบล ปีงบประมาณ 2559
จากการศึกษาข้อมูลของหมู่บ้านและการประชาคมในปี 2559 เพื่อหาความต้องการของประชาชน เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2558 ณ บ้านวังศรีภูมิ หมู่ที่ 1 การประชุมผู้นำชุมชนในสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนิคมพัฒนา เมื่อวัน 12 ตุลาคม 2558 รวมไปถึงการสรุปจากข้อมูลการสำรวจจากโครงการปิดทองหลังพระ ประกอบกัน พบว่าตำบลนิคมพัฒนาเป็นตำบลที่มีพื้นที่กว้าง มีประชากรในวัยแรงงานอยู่มาก มีความต้องการด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านอาชีพ นอกจากวัยแรงงาน ยังมีผู้สูงอายุและผู้พิการอยู่อีกมาก ซึ่งประชากรกลุ่มนี้ ยังมีความต้องการพื้นฐานในด้านการมีทักษะการดำเนินชีวิตที่ดี ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐอย่างทั่วถึง แต่ยังมีความต้องการที่จะดูแลตนเองได้ตามศักยภาพ ในด้านอาชีพ ด้านทักษะการดำเนินชีวิตเรื่องสุขภาพ อาหารการกิน และการยอมรับจากสังคม ด้านการศึกษาตามอัธยาศัย
การประชาคมในหมู่บ้าน ม.1 บ้านวังศรีภูมิ |
|
นำข้อมูลมาพุดคุยในที่ประชุมสภา อบต.นิคมพัฒนา |
เพิ่มเติมโครงการ แนะนำ แลกเปลี่ยน กับผู้นำ |
บัญชีงานโครงการตามแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2559
ที่
|
ชื่องาน/โครงการ/
ชื่อกิจกรรม
|
เป้าหมาย
(คน)
|
พื้นที่ดำเนินการ
|
งบประมาณ
(บาท)
|
ห้วงเวลา
ดำเนินการ
|
หมายเหตุ
|
||
หมู่ที่
|
ตำบล
|
อำเภอ
|
||||||
1
|
กิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ
|
5
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
2,750
|
พ.ย. – ม.ค. 59
|
|
2
|
การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- ระดับประถม
- ระดับม.ต้น
- ระดับม.ปลาย
|
12 36
42
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
พ.ย. 58– ก.ย.59
|
||
3
|
การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ (หลักสูตรระยะสั้นไม่เกิน 30 ชม.)
-การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
-การทำขนมไทย
|
15
10
|
5
9
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
6,000
|
ม.ค. – มี.ค. 59
|
|
หลักสูตรช่างพื้นฐาน
-ช่างไฟฟ้าเบื้องต้น
|
23
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
13,000
|
ม.ค. – มี.ค. 59
|
||
หลักสูตรต่อยอดอาชีพเดิม
-การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์กะลาและเศษไม้
|
23
|
5
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
13,000
|
เม.ย.-มิ.ย.59
|
||
หลักสูตรอื่นๆ
-การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ
|
23
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
13,000
|
ม.ค. – มี.ค. 59
|
กลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกอบต.และผู้นำ
|
|
4
|
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
-การให้ความรู้เรื่องขับขี่ปลอดภัย สร้างวินัยจราจร
|
20
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
2,080
|
ม.ค. – มี.ค. 59
|
|
-โครงการจัดหลักสูตรดูแลผู้สูงอายุ
|
20
|
9
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
2,080
|
ม.ค. – มี.ค. 59
|
||
-โครงการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
|
16
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
1,664
|
เม.ย.-มิ.ย.59
|
||
5
|
โครงการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยกระบวนการบัญชีครัวเรือน
|
18
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
14,580
|
ม.ค.-มิ.ย.59
|
||
6
|
การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
-โครงการหมู่บ้านเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท
|
2
|
5
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
800
|
เม.ย.-มิ.ย.59
|
|
7
|
กิจกรรมการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
|
20
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
5,800
|
ม.ค. – มี.ค. 59
|
กลุ่มเป้าหมายนักศึกษา
|
8
|
การศึกษาตามอัธยาศัย
-โครงการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ในชุมชน (วัดศรีไตรภูมิ
และดอนหนองหล่ม)
|
60
|
1
และ 12
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
4,000
|
พ.ย.-ธ.ค. 58
|
|
-โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนในวัด (วัดนิคมสามัคคี)
|
40
|
9
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
2,000
|
พ.ย.-ธ.ค. 58
|
||
-โครงการส่งเสริมบ้านหนังสือชุมชน
|
ม.1,5,
7,8,9,
12,14
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
-
|
พ.ย.-ธ.ค. 58
|
|||
-โครงการบรรณสัญจร
|
70
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
2,000
|
พ.ย.-ธ.ค. 58
|
||
-โครงการชุมชนรักการอ่าน
(บ้านชัยมงคล ม.2)
|
100
|
2
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
2,000
|
พ.ย.-ธ.ค. 58
|
||
-โครงการจัดทำฐานข้อมูลกศน.ตำบล
|
100
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
2,000
|
พ.ย.-ธ.ค. 58
|
||
-กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
|
100
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
2,000
|
พ.ย.58-ก.ย. 59
|
||
-หนังสือพิมพ์กศน.ตำบล
|
240
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
2,400
|
พ.ย.58-ก.ย. 59
|
||
9
|
โครงการตามยุทธศาสตร์และจุดเน้น
-โครงการกีฬา
|
90
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
24,300
|
ม.ค.-มิ.ย.59
|
|
-โครงการติวเข้มเติมความรู้
|
15
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
5,800
|
ม.ค.-มิ.ย.59
|
||
-โครงการสอนภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน
|
20
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
5,800
|
ม.ค.-มิ.ย.59
|
*ร่วมกับนิคมสร้างตนเองกิ่วลม
|
|
-โครงการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านอาเซียนศึกษา
|
30
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
8,700
|
ม.ค.-มิ.ย.59
|
||
-โครงการลูกเสือกศน.
|
90
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
24,300
|
ม.ค.-มิ.ย.59
|
||
-โครงการยุวกาชาดกศน.
|
90
|
1
|
นิคมพัฒนา
|
เมืองลำปาง
|
24,300
|
ม.ค.-มิ.ย.59
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น